วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความรู้

เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย

ความหมายของกฎหมายตามแนวความคิดเดิม
1.        กฎหมาย คือ คำบัญชาของผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ
2.        กฎหมาย คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฎรทั้งหลาย เมื่อไม่
ทำตามก็จะต้องถูก ลงโทษ

ความหมายของกฎหมายตามแนวความคิดใหม
1.        กฎหมาย คือ ระเบียบกฎเกณฑ์ซึ่งมีลักษณะเป็นสากลและพบเห็นได้ในทุกสังคม
2.        กฎหมาย คือ ระบบที่มีอำนาจโดยชอบธรรมซึ่งมีการรับรองไว้แล้ว
3.        กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์สูงสุดของสังคมและเป็นตัวควบคุมกฎเกณฑ์อื่น ๆ
4.      กฎหมายคือระบบกฎเกณฑ์ที่มีการจัดทำการตีความและการใช้บังคับเป็นกิจจะลักษณะ

ลักษณะสำคัญของกฎหมาย
1.        กฎหมายจะต้องมาจากรัฏฐาธิปัตย์
2.        กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ทั่วไป
3.        กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไป
4.        กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม
5.        กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ

ที่มาของกฎหมาย
1. กฎหมายลายลักษณ์อักษร
2. กฎหมายจารีตประเพณี
3. หลักกฎหมายทั่วไป
 
ประเภทและลำดับชั้นของกฎหมาย
ประเภทของกฎหมาย กฎหมายมี 3 ประเภทคือ

1.        กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน
2.        กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชน
3.        กฎหมายระหว่างประเทศ คือกฎหมายที่กำหนดตามความเกี่ยวพันระหว่างประเทศ
แบ่งออกเป็น 3 แผนก คือ
3.1     กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
3.2     กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
3.3     กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา

ลำดับชั้นของกฎหมาย
1.        กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือกฎหมายสูงสุดในการจัดระเบียบการปกครองประเทศ
ซึ่งจะวางระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดของรัฐ หรืออำนาจอธิปไตย
2.        พระราชบัญญัติ (พรบ) คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์
ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา เป็นกฎหมายหลักที่สำคัญ
3.        ประมวลกฎหมาย คือ กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ได้บัญญัหรือตราขึ้นติ
โดยรวบรวมจัดเอาบทบัญญัติเกี่ยวกับกฎหมายที่ เป็นเรื่องเดียวกันเอามารวบรวมเป็นหมวดหมู่
4.        พระราชกำหนด ( พรก) คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์
ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี การตราพระราชกำหนดให้
5.        พระราชกฤษฎีกา ( พรฎ) คือ กฎหมายที่
พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี พระราชกฤษฎีกาจะออกได้
6.        กฎกระทรวง คือ กฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติอัน
เป็นกฎหมายแม่บทออกมาเพื่อดำเนินการให้ เป็นไปตามพระราชบัญญัตินั้น ๆ
7.        ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่ง
คือ กฎหมายปลีกย่อยประเภทที่เป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้แก่เรื่องที่เกี่ยวกับระเบียบการปฏิบัติราชการ
8.        กฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองตนเอง
ได้แก่ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา ข้อบัญญัติจังหวัด เทศบัญญัติ และข้อบังคับ
 
สรุปสาระสำคัญ
1.        ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มี 5 ประเภท
            1.        กฎหมายต้องมาจากรัฎฐาธิปัตย์
            2.        กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ทั่วไป
            3.        กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไป
            4.        กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม
            5.        กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ

2.        ที่มาของกฎหมายไทย ได้แก่
           1.        กฎหมายลายลักษณ์อักษร
           2.        กฎหมายจารีตประเพณี
           3.        กฎหมายทั่วไป
           4.        ประเภทของกฎหมาย ได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด
พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบข้อบังคับ คำสั่ง และกฎหมายที่ออกโดยองค์การปกครองตนเอง




                      มีกฏหมาย แต่ผู้ใช้กฎหมาย ใช้กฎหมายในทางที่ไม่สุจริตก็ไม่สามารถทำให้กฎหมายนั้นมีความศักดิ์สิทธิ์ได้

ความสำคัญของกฎหมาย

 ความสำคัญของกฎหมาย


ในสังคมของมนุษย์นั้นมีสมาชิกจำนวนมากที่มีความแตกต่างกัน ทั้งด้านความคิดเห็นและพฤติกรรมต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีกฎระเบียบหรือกติการ่วมกัน เพื่อเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการควบคุมความประพฤติของมนุษย์ และช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับสังคม ไม่ให้เกิดความวุ่นวาย กฎหมายมีความสำคัญต่อสังคมในด้านต่างๆ ดังนี้
       1. กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบและความสงบเรียบร้อยให้กับสังคมและประเทศชาติ  เมื่ออยู่รวมกันเป็นสังคมทุกคนจำเป็นต้องมีบรรทัดฐาน ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติยึดถือเพื่อความสงบเรียบร้อย ความเป็นปึกแผ่นของกลุ่ม
       2. กฎหมายเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ พลเมืองไทยทุกคนต้องปฏิบัติตนตามข้อบังคับของกฎหมาย ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องได้รับโทษ กฎหมายจะเกี่ยวข้องกับ การดำรงชีวิตของเราตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย

       3. กฎหมายก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม คนเราทุกคนย่อมต้องการความ ยุติธรรมด้วยกันทั้งสิ้น การที่จะตัดสินว่าการกระทำใดถูกต้องหรือไม่นั้น ย่อมต้องมีหลักเกณฑ์ ฉะนั้น กฎหมายจึงเป็นกฎเกณฑ์สำคัญที่เป็นหลักของความยุติธรรม

       4. กฎหมายเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปในทางใด หรือคุณภาพของพลเมืองเป็นอย่างไร จำเป็นต้องมีกฎหมายออกมาใช้บังคับ เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายของการพัฒนาที่กำหนดไว้ ดังจะเห็นได้จากการที่กฎหมายได้กำหนดให้บุคคลมีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยรัฐเป็นผู้จัดการศึกษาให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายนั้น ย่อมส่งผลให้ คุณภาพด้านการศึกษาของประชาชนสูงขึ้น หรือการที่กฎหมายกำหนดให้ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ พิทักษ์ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ย่อมทำให้สังคมและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนมีมาตรฐานดีขึ้น


       ดังนั้น การที่ประเทศใดจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เป็นไปในแนวทางใดก็ตามถ้าได้มีบทบัญญัติของกฎหมายเป็นหลักการให้ทุกคนปฏิบัติตาม ก็ย่อมทำให้การพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนประสบผลสำเร็จได้สูงกว่าการปล่อยให้เป็นไปตามวิถีการดำเนินชีวิตของสังคมตามปกติ



เราเกิดมาเพื่อรับใช้ประชาชน






พระบิดาแห่งกฎหมายไทย

ประวัติพระบิดาแห่งกฎหมายไทย










พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงพระนามเดิมว่า "พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์" เป็น พระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประสูติแก่เจ้าจอมมารดาตลับ ณ วันพุธ ขึ้น 11 ค่ำเดือน 11 ปีจอ ฉศก จุลศักราช 1236 ซึ่งตรงกับวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2417

พระองค์ได้เข้าพิธีพระราชโสกันต์ในวันที่ 26 ธันวาคม 2427 พร้อมด้วยพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ 5 อีก 3 พระองค์ และทรงผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาปวเรศวิริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌายะ หลังจากเสร็จพระราชพิธีสมโภชแล้วจึงทรงเสด็จ มาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร รวมเวลาที่พระองค์ได้ทรงผนวชทั้งสิ้น 22 วัน
เนื่องจากช่วงเวลานั้น ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาการแผ่อำนาจแสวงหาอาณานิคมของชาติตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ว่าจะโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ พร้อมด้วยพระเจ้าลูกยาเธออีก 3 พระองค์ ไปศึกษาต่อยังทวีปยุโรปและ ประเทศอังกฤษ เพื่อนำวิชาความรู้มาพัฒนาบ้านเมืองให้เทียมทันอารยประเทศ
เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมในประเทศอังกฤษแล้ว พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมาย เนื่องจากขณะนั้นนานาประเทศที่ทำสนธิสัญญากับประเทศไทยไม่ยอมรับกฎหมายไทยว่าเสมอด้วยกฎหมายของ อารยประเทศ ทำให้มีปัญหาต่อการปกครองและมีข้อพิพาทเรื่องเขตแดนอยู่เนืองนิจ พระองค์ทรงสอบไล่ได้ ตามหลักสูตรปริญญา B.A.(oxon) ชั้นเกียรตินิยมภายในเวลาเพียง 3 ปี พระชันษาได้ 20 พรรษา
เมื่อพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เสด็จกลับสยามประเทศแล้วก็ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับราชการใน กรมราชเลขานุการ ทรงสามารถทำงานในกรมนั้นได้ทุกตำแหน่ง ประกอบกับทรงร่างพระราชหัตถเลขา ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นที่พอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงได้รับการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรีในปีเดียวกันนั้น
  
         
แต่ในเวลานั้น เอกราชทางการศาลของประเทศสยามได้รับความกระทบกระเทือนเป็นอย่างมาก กล่าวคือ สยามต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (Extraterritorial rights) ให้แก่ชาวต่างชาติ ที่มาพำนักในสยามประเทศหลายครั้ง ด้วยเหตุที่กฎหมายยังมีความล้าสมัยอยู่มาก พระองค์จึงทรง ตั้งพระทัยแน่วแน่ที่จะเข้ารับราชการตุลาการ ทรงเข้าศึกษากฎหมายไทยโดยการค้นคว้าจากราชเลขานุการ ฝ่ายกฤษฎีกา โดยมีขุนหลวงพระยาไกรสี (เปล่ง เวภาระ) และเจ้าพระยามหิธรเป็นผู้ถวายความสะดวก
ในปี พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งข้าหลวง พิเศษขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อจัดการศาลหัวเมืองในมณฑลอยุธยาเป็นแห่งแรก โดยให้เสด็จในกรมฯ เป็น สภานายกพิเศษ ทรงตัดสินคดีทั้งปวงด้วยพระองค์เอง โดยความรวดเร็วและยุติธรรมเป็นที่ปรากฏใน พระปรีชาสามารถแก่หมู่ชนในมณฑลนั้น
เนื่องด้วยพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงพิชิตปรีชากร เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมได้ประชวร จึงกราบ บังคมลาออกจากตำแหน่งในปี พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมี พระบรมราชโองการแต่งตั้งเสด็จในกรมฯ ขึ้นเป็นเสนาบดีสืบแทน นับเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ลำดับ 3 ขณะทรงมีพระชนมายุเพียง 22 พรรษา เสด็จในกรมฯ ทรงสนพระทัยและหาหนทางในการ ปรับปรุงแก้ไข จัดระเบียบศาลและการยุติธรรมทั่วประเทศไทยให้เรียบร้อย ทรงมีพระราชดำริใน การแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ว่า มี 2 แนวทางคือ การทำให้บ้านเมืองมีกฎหมายดี และการทำศาลให้มี ผู้พิพากษาที่ดี และมีคุณธรรม
หลังจากที่พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ได้เข้ารับราชการและบำเพ็ญคุณความดีเป็น ประโยชน์แก่บ้านเมืองเป็นอันมากแล้ว จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าให้สถาปนาขึ้นเป็น พระองค์เจ้า ต่างกรม มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ นาคนาม" ในปี พ.ศ. 2442
นับเวลาที่เสด็จในกรมฯ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีเป็นระยะเวลา 4 ปี ระหว่างนั้นได้ทรงตรากฎและคำสั่ง เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติราชการฝ่ายการศาลยุติธรรมไว้หลายฉบับ ตั้งแต่ปี ร.ศ. 115 ถึง ร.ศ. 120 ทั้งหมด รวม 28 ฉบับ ต่อมาใน ร.ศ. 121 ได้ทรงดำรัสให้ยกเลิกกฎเสนาบดีชุดก่อนเสียทั้งหมด และทรงตรากฎ และคำสั่งออกใช้ใหม่ถึง 67 ฉบับ ซึ่งบรรดากฎและคำสั่งเหล่านี้นับเป็นที่มาของกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระธรรมนูญศาลยุติธรรมบางมาตราในปัจจุบัน


ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า พ.ศ. 2454 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จในกรมฯ ดำรง ตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ทรงดำรงตำแหน่งเพียงปีเดียวก็ได้รับพระบรมราชโองการ เลื่อนขึ้นเป็นกรมหลวง มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวง ราชบุรีดิเรกฤทธิ์คชนาม" จนกระทั่ง พ.ศ. 2462 เสด็จในกรมฯ ทรงประชวรด้วยพระวัณโรคที่พระวักกะ จึงทรงกราบบังคมทูลลาออกและได้เสด็จไปรักษาพระองค์ ณ กรุงปารีส แต่พระอาการไม่ทุเลาลง จนกระทั่งในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463 เวลา 21.00 น. พระเจ้าพี่ยาเธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ก็เสด็จสิ้นพระชน ณ กรุงปารีส นับพระชนมายุเรียงปีได้ 47 พรรษา บรรดาศิษย์และบุคคลที่คุ้นเคย ได้พร้อมใจอัญเชิญพระอัฐิของพระองค์เข้ามาบำเพ็ญกุศลในกรุงเทพฯ และในปี พ.ศ. 2497 เนติบัณฑิตสภาได้เริ่มต้นเรียกวันที่ 7 สิงหาคม ว่า "วันรพี" พร้อมทั้งจัดงาน บำเพ็ญกุศลทักษิณานุสรณ์เป็นต้นมาประจำทุกปี
คำนิยาม                                  
                                         ที่ใดมีสังคม ที่นั่นต้องมีกฎหมาย และความยุติธรรม



                                                       
                                                          เอ็งกินเหล้าเมายาไม่ว่าดอก
                                                      แต่อย่าออกนอกทางไปให้เสียผล
                                                         อย่าไปกินสินบาทคาดสินบน
                                                           เรามันชนชั้นปัญญาตุลาการ