วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ใช้กฎหมายแก้ปัญหา


ใช้กฎหมายแก้ไขปัญหา
                                                         
Cr.รูปภาพ www.thaigoodview.com

                   
                     บางครั้งอาจเกิดปัญหาขึ้น หลายคนอาจไม่รูจักวิธีแก้ปัญหาที่ดี บางปัญหามีทางออก อยู่ว่าเราจะแก้ไขหาทางออกได้ถูกวิธีหรือไม่
                     
                    กฎหมายเป็นสิ่งสำคัญในการแก้ไขปัญหาบางอย่าง แต่บางครั้งกฎหมายก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ไม่ใช่ว่ากฎหมายไม่ดี แต่ทั้งนี้ คือการใช้กฎหมายต่างหาก เราจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันปัญหาอาชญากรรม เกิดขึ้นมากมายในสังคมไทย ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ หรือแม้กระทั่งวัฒนธรรม นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยแล้วต้องมาพบเจอกับปัญหาอาชญากรรม ความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบแต่ในวงแคบ หากผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นก่อเกิดในวงกว้าง ภาพลักษณ์ประเทศไทยในสายตาชาวต่างชาติจะเป็นอย่างไร นอกจากนี้ปัญหาอาชญากรรมในประเทศไทยยังอาจก่อให้เกิดค่านิยมที่ผิดๆให้กับเยาวชนได้อีกด้วย
                 
                      ปัญหาสังคมไทยที่ผ่านมา ในเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายนั้นถือว่าเป็นปัญหาหนึ่งที่ต้องรีบแก้ไข นอกจากปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งปัญหาการบังคับใช้กฎหมายอาจมีทั้งเรื่องสองมาตรฐาน การเอื้อประโยชน์ จนกระทั่งการปล่อยให้มีการกระทำผิดกฎหมายโดยเจตนา ซึ่งที่ผ่านมา เราโทษแต่ปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ไม่เคยกล่าวโทษกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย
                  แต่ปัญหาสำคัญในขณะนี้ คือ ผู้บังคับใช้กฎหมายต่างหากว่าดำเนินการตามหน้าที่หรือไม่ การโยนปัญหาให้เป็นเรื่องของเด็กและเยาวชนหรือเรื่องอื่น อาจทำให้เรามองไม่เห็นปัญหาที่สำคัญว่าส่วนหนึ่งของปัญหาใหญ่ ก็คือ เจ้าหน้าที่ของรัฐในฐานะผู้บังคับใช้กฎหมายนั่นเอง
               เพียงแค่บังคับใช้กฎหมายให้เข้มงวด นั่นอาจเป็นการใช้กฎหมายแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องและดีที่สุดก็ได้
                                                   เพลงกำลังใจ >>>โฮป

เอารัดเอาเปรียบ


ปัจจุบันนี้เกิดปัญหาการเอารัดเอาเปรียบในสังคมไทย
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
เอารัดเอาเปรียบ
เอาเปรียบ, เอารัดเอาเปรียบ
ความหมาย ว. รู้มาก, พยายามให้ได้ประโยชน์มากกว่า.

                      บุคคลที่มีความรู้น้อยมักถูกเอารัดเอาเปรียบได้ง่ายเสมอ ยิ่งเกี่ยวกับทางกฎหมายด้วยแล้ว ผู้ที่ไม่มีความรู้ในด้านกฎหมายมักจะกังวล เพราะปัจจุบันนี้หากทำอะไรผิดพลาดหรือก่อให้เกิดความเสียแก่ผู้อื่น ก็อาจถูกฟ้องได้โดยง่าย
                    ดังนั้นการเรียนรู้กฎหมายเอาไว้ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เรามั่นใจได้ว่า เราจำไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้อื่น แต่หากไม่มีเวลาในการศึกษากฎหมายอย่างจริงจัง เราต้องมีความกล้าที่จะเข้าปรึกษากับผู้ที่สามารถให้คำปรึกษากับเราได้ อาทิ ผู้ที่รู้กฎหมาย ทนายความ อาจารย์สอนกฎหมาย หรือแม้แต่นักศึกษาที่ศึกษาวิชากฎหมายอยู่ เพราะนั่นเป็นการลดความเสียงในการถูกเอารัดเอาเปรียบได้
                   อีกแนวทางหนึ่ง หากไม่ต้องการสูญเสียเงินทองในการขอคำปรึกษาปัญหากฎหมายแล้ว ก็สามารถทำได้โดยขอคำปรึกษาผ่านทางโซเชียว เน็ตเวิร์ก เช่นhttps://www.facebook.com/Lawyer.Famil
เป็นเพจที่ให้คำปรึกษาปัญหากฎหมาย เป็นต้น
Cr. ตามภาพ

รู้หรือไม่2


รู้หรือไม่

              บางข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นก็ไม่สามารถนำบทบัญญัติมาตราใดมาปรับใช้ได้           

          เราเคยสงสัยไหมว่าในบางกรณี ปรากฏว่ามีข้อเท็จจริงเกิดขึ้นแล้ว และได้มีการตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษรจนสุดขอบความที่จะเป็นไปได้ตาม ความหมายของถ้อยคำแล้ว ไม่มีบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่สามารถยกมาปรับเข้ากับข้อเท็จจริงที่เกิด ขึ้นได้เลย  นั่นอาจทำให้เราสงสัยว่า อ้าว แล้วผู้กระทำความผิดจะได้รับโทษอย่างไรในเมื่อไม่สามารถหาหลักกฎหมายมาปรับตีความกับข้อเท็จจริงเพื่อกำหนดบทลงโทษผู้กระทำความผิด

          การที่ไม่สามารถตีความกฎหมายลายลักอักษรเข้ากับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นนั้น จะเห็นได้ว่ากฎหมายมีช่องโหว่ ทางภาษากฎหมายเรียกว่า ช่องว่างของกฎหมาย  ซึ่งเกิดจากความบกพร่องหรือความไม่สมบูรณ์ของบทกฎหมาย ลายลักษณ์อักษร

            ดังนั้น ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา๔ จึงเป็นบทบัญญัติที่สามารถนำมาอุดช่องว่างของกฎหมายนี้ได้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา๔

          “กฎหมายนั้น ต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบท บัญญัติใด ๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมาย ของบทบัญญัตินั้น ๆ
            เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตาม จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัย คดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งและถ้าบทกฎหมาย เช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป
       จากบทบัญญัติข้างต้นนี้จะเห็นได้ว่าสิ่งที่จะนำมาใช้ในการอุดช่องว่างของกฎหมายก็คือ จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และหลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งการจะนำมาใช้นั้นต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนไม่ควรที่จะเลือกใช้ตามอำเภอใจ  คือ
          -ถ้าไม่มีกฎหมายใดที่จะมาปรับใช้กับข้อเท็จจริงได้ อันดับแรกก็ให้นำจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นนั้นมาปรับใช้ก่อน
          -ถ้าไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นที่จะมาปรับใช้กับเรื่องนั้นๆได้ ก็อาศัยบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับใช้
          -และสุดท้ายหากไม่มีบทกฎหมายที่ใกล้เคียงพอจะนำมาปรับใช้ได้จึงให้นำหลักกฎหมายทั่วไปมาใช้ปรับเข้ากับข้อเท็จจริงนั้น
       
สำหรับในคดีอาญานั้น
      
           จะเห็นได้ว่า ในคดีอาญานั้นการตีความต้องเป็นไปอย่างเคร่งครัดตามตัวบทกฎหมาย หากการกระทำใดที่ไม่มีกำหมายบัญญัติไว้เป็นความผิดก็ไม่ถือว่าเป็นความผิด จะลงโทษผู้กระทำไม่ได้ ดังนั้น หากเกิดช่องว่างในกฎหมายที่กำหนดโทษอาญา ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับความผิดแล้วต้องถือว่าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นความผิด จะนำไปฟ้องร้องหรือลงโทษเพราะกรณีเช่นว่าไม่ได้ จึงเท่ากับว่าในทางอาญาไม่มีการอุดช่องว่างของกฎหมาย

Cr.รูปภาพ www.oknation.com

แปะ>>การตีความกฎหมายhttp://nophanat5116854.blogspot.com/



                                             

วิธีเรียนกฎหมายให้เก่ง


การเรียนวิชากฎหมาย หลายคนอาจคิดว่าง่าย เพราะไม่มีการคำนวณ  แค่ท่องจำได้ก็เรียนได้
แต่เชื่อเถอะว่าผู้ที่ได้เข้ามาศึกษาในวิชากฎหมายจริงๆ ไม่มีใครกล้าพูดอย่างนั้นสักคน
คำถามคือ ทำไม?
เพราะพวกเรารู้ดีว่าไม่ใช่แค่ท่องจำก็เรียนได้ การเลือกที่จะเรียนกฎหมาย ไม่ใช่อาศัยแค่ความเข้าใจของผู้เรียนเพียงคนเดียว เพราะการเข้าใจเพียงคนเดียวอาจเห็นจากผิดเป็นถูกได้ งั้นการเรียนกฎหมายควรเรียนอย่างไร
1.อ่าน การอ่านหนังสือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ศึกษากฎหมายทุกคนจะต้องทำ เพราะเนื้อหาในวิชากฎหมายนั้นมีมากมายนัก
2.ท่อง ตัวบทมาตราเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเรียน เพราะเราต้องรู้หลักของกฎหมายนั้น การอ่านในข้างต้นคือการอ่านเพื่อทำความเข้าใจในตัวบทกฎหมาย
นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญคือ
1.ความตั้งใจ ต้องมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ วางจุดมุ่งหมายไว้ให้ชัดเจน ว่าเราเรียนกฎหมายนี้ เราต้องการที่จะมุ่งไปทางไหน (ฝันให้ไหลไปให้ถึง, จะขึ้นสู่ฟ้า ใจต้องกล้าแกร่ง)
2.ขยัน ต้องมีความขยันในการอ่านหนังสือและท่องจำมาตรา ต้องตั้งเป้าหมายว่าใจแต่ละวันต้องอ่านให้ได้อย่างน้อยวันละกี่หน้า ท่องมาตราวันละกี่มาตรา
3.แบ่งเวลาว่าง การทำทุกอย่างต้องอยู่ในทางสายกลาง ไม่ตึง ไม่หย่อนจนเกินไป ไม่ใช่ตั้งใจมากไปจนทำให้ตนเองเกิดความเครียด เพราะบางครั้งมันอาจทำให้เราพูดกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง
(อ่านแต่หนังสือ จนไม่สนใจสิ่งรอบข้าง พูดขึ้นมาก็จะมุ่งแต่เนื้อหาของกฎหมาย ทำให้ผู้คนรอบข้างคุยด้วยไม่รู้เรื่อง)
4.สนทนา การพูดคุยกับเพื่อน กับอาจารย์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อที่สงสัย เพราะนั่นอาจเป็นการทำให้เราได้ความรู้ใหม่ๆ ไม่เข้าใจอะไรอยู่คนเดียว เพราะความเข้าใจนั้นอาจเป็นความเข้าใจผิดๆไปได้
                   บางครั้ง แค่เราตั้งใจก็ไม่ก่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด ถ้าหากเราไม่ลงมือกระทำ
cr. รูปภาพblog.eduzones.com

                                            เพลงชีวิตลิขิตเอง >>เบิร์ด ธงชัย

รู้หรือไม่1


รู้หรือไม่
            
          การศึกษาวิชากฎหมายเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ทำให้เราปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในประเทศ นอกจากนี้การศึกษากฎหมายยังก่อให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตได้อีกด้วย โดยเป็นผู้รู้เท่าทันคนและไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้อื่น แต่ทั้งนี้การที่เรารู้กฎหมายเราก็ต้องไม่นำความรู้ที่เรามีไปเอารัดเอาเปรียบคนอื่นเช่นกัน
          
         เกริ่นนำด้วยข้อคิดดีๆแล้ว ต่อไปเราจะเข้าเนื้อหากฎหมายน่ารู้กันนะคะ รู้ไหมว่าการเรียนกฎหมายนั้นไม่ใช่แค่การท่องตัวบทมาตราได้แล้วจะคิดว่าเรารู้กฎหมายแล้ว ผู้ศึกษากฎหมายบางคนสามารถท่องตัวบทได้ทุกมารถตราแต่ก็ยังไม่อาจเป็นผู้ที่เข้าใจในกฎหมายได้ เพราะการศึกษากฎหมายไม่ใช่แค่การท่องจำ หากแต่สิ่งที่สำคัญคือการทำความเข้าใจ และการตีความตัวบท
              
          จะเห็นได้ว่าเมื่อเราเปิดตัวบทกฎหมาย ในแต่ละมาตราก็จะมีหลักกฎหมาย และคำศัพท์ทางกฎหมาย และบางคนอาจจะใช้ศัพท์ทางกฎหมายออกไปโดยที่ไม่รู้ถึงความหมายที่แท้จริง และควรใช้ในสถานการณ์ใด ที่เคยได้ยินบุคลรอบข้างพูดและอ้างอยู่บ่อยๆในสถานการณ์ใกล้ตัวคงเป็นคำว่า  เราไม่ได้ตั้งใจนะ มันเป็เหตุสุดวิสัยเป็นต้น ทั้งนี้ผู้พูดอาจจะไม่ได้รู้ถึงความหมายที่แท้จริงของคำว่าเหตุสุดวิสัยเลยก็ได้ ดังนั้นเราจะมาทำความรู้จักกับคำว่าเหตุสุดวิสัยกันค่ะ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา๘
      คำว่า " เหตุสุดวิสัย " หมายความว่า เหตุใดๆ อันจะเกิดขึ้น ก็ดี จะให้ผลพิบัติ ก็ดี เป็นเหตุที่ ไม่อาจป้องกันได้ แม้ทั้ง บุคคล ผู้ต้องประสบ หรือ ใกล้จะต้องประสบ เหตุนั้น จะได้จัดการ ระมัดระวัง ตามสมควร อันพึงคาดหมายได้ จาก บุคคล ในฐานะ และ ภาวะเช่นนั้น
     
                  เมื่อเราได้เปิดประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา๘ เราก็จะพบกับความหมายของเหตุสุดวิสัยที่ได้บัญญัติเอาไว้ ทั้งนี้อาจจะดูเหมือนเข้าใจง่ายแต่หากเรามองลึกๆแล้วเราจะเกิดคำถามว่า คำว่าเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้คืออะไร ในฐานะและภาวะเช่นนั้นคืออะไร เพราะในตัวบทก็ไม่ได้บอกเราเอาไว้ ดังนั้นเราจึงต้องตีความตัวบทเพื่อให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ คือเหตุที่ไม่ได้เกิดจากการกระทำของมนุษย์  อาทิเช่น ฟ้าผ่า น้ำท้วม  ลมพายุ เป็นต้น แต่ทั้งนี้การที่จะกล่าวอ้างเหตุนี้ได้ ผู้ที่ประสบ หรือใกล้ที่จะประสบภัย จะต้องได้เตรียมการ ระมัดระวังตามสมควรที่สามารถทำได้ โดยคำนึงจากฐานะ นั่นก็คือวุฒิภาวะของบุคคล อายุ อาชีพ และภาวะ คือสภาพแวดล้อมในขณะนั้นนั่นเอง
               เห็นไหมคะว่าการที่เรารู้ตัวบทแล้วเรายังต้องตีความตัวบท เพื่อให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ จะได้ใช้คำพูดนั้นถูกที่และถูกสถานการณ์ 
               นอกจากการท่องจำ การทำความเข้าใจ การตีความตัวบท  หรือแม้หมั่นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว นอกจากนี้การที่เราจะเป็นผู้ประสบความสำเร็จในวิชาชีพกฎหมายหรือการเป็นผู้ศึกษากฎหมายนั้น ยังต้องอาศัยความตั้งใจใฝ่เรียนรู้และความขยันหมั่นเพียรอีกด้วย ดังคำพูดที่ว่า อยากเก่งต้องขยัน 
              
Cr. รูปภาพ blog.eduzones.com

แปะ ความรู้12 Tips ฝึกนิสัยการอ่าน ง่ายนิดเดียว!http://blog.eduzones.com/moobo/91130



ที่มาของระบบกฎหมาย

ที่มาของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร
                1. กฎหมายลายลักษณ์อักษร ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร เป็นระบบที่สืบทอดมาจากกฎหมายโรมัน ซึ่งให้ความสำคัญกับตัวบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้โดยถูกต้องตามกระบวนการบัญญัติกฎหมาย ดังนั้นที่มาประการสำคัญของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ก็คือกฎหมายที่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งอาจมีหลายลักษณะด้วยกัน เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เป็นต้น
                2. จารีตประเพณี ในบางครั้งการบัญญัติกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร จะให้ครอบคลุมทุกเรื่องเป็นไปได้ยาก จึงต้องมีการนำเอาจารีตประเพณี มาบัญญัติใช้เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรด้วย เช่น การชกมวยบนเวที ถ้าเป็นไปอย่างถูกต้องตามกติกา ถึงแม้ว่าคู่ต่อสู้จะบาดเจ็บหรือเสียชีวิตก็ไม่มีความผิด หรือแพทย์ที่ตัดแขนตัดขาคนไข้โดยที่คนไข้ยินยอมก็ไม่มีความผิด เป็นต้น เท่าที่ผ่านมายังไม่มีการฟ้องร้องคดีเรื่องเหล่านี้เลย ซึ่งคงจะเป็นเพราะจารีตประเพณีที่รู้กันโดยทั่วไปว่าเป็นเสมือนกฎหมาย
                3. หลักกฎหมายทั่วไป ในบางครั้งถึงแม้จะมีกฎหมายลายลักษณ์อักษร และกฎหมายจารีตประเพณี มาใช้พิจารณาตัดสินความแล้วก็ตาม แต่ก็อาจไม่เพียงพอครอบคลุมได้ทุกเรื่อง จึงต้องมีการนำเอาหลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งประเทศอื่น ๆ ที่มีความก้าวหน้าทางกฎหมาย ได้ยอมรับกฎหมายนั้นแล้ว มาปรับใช้ในการพิจารณาตัดสินคดีความด้วย เช่น หลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิ์ดีกว่าผู้รับโอน โจทย์พิสูจน์ไม่ได้ต้องปล่อยตัวจำเลย คดีอย่างเดียวกันต้องพิพากษาตัดสินเหมือนกัน ฯลฯ เป็นต้น

ที่มาของกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                1. จารีตประเพณี ถือว่าเป็นที่มาประการสำคัญของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เนื่องจากกฎหมายระบบนี้เกิดจากการนำเอาจารีตประเพณี ซึ่งคนในสังคมยอมรับและปฏิบัติสืบต่อกันมานาน มาใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความ
                2. คำพิพากษาของศาล จารีตประเพณีใดที่ถูกนำมาใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความแล้ว ก็จะกลายเป็นคำพิพากษาของศาล ซึ่งคำพิพากษาบางเรื่องอาจถูกนำไปใช้เป็นหลัก หรือเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาตัดสินคดีความต่อ ๆ ไป คำพิพากษาของศาลจึงเป็นที่มาอีกประการหนึ่งของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                3. กฎหมายลายลักษณ์อักษร ในสมัยต่อ ๆ มาบ้านเมืองเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว การที่จะรอให้จารีตประเพณีเกิดขึ้นย่อมไม่ทันกาล บางครั้งจึงจำเป็นต้องสร้างกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นมาใช้ด้วย
                4. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ ระบบกฎหายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ยังยอมรับความเห็นของนักนิติศาสตร์มาใช้เป็นหลักในการตัดสินคดีความด้วย เพราะนักนิติศาสตร์เป็นผู้ที่ศึกษากฎหมายอยู่เสมอ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความคิด มีเหตุผล ความเห็นของนักนิติศาสตร์ที่มีชื่อเสสียงและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ย่อมมีน้ำหนักพอที่จะนำไปใช้อ้างอิงในการพิจารณาตัดสินความได้
                5 .หลักความยุติธรรมหรือมโนธรรมของผู้พิพากษา ในระยะหลังที่บ้านเมืองเจริญขึ้นสภาพสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ก็เปลี่ยนแปลงไป การใช้จารีตประเพณีและคำพิพากษาก่อน ๆ มาเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความอาจไม่ยุติธรรม จึงเกิดศาลระบบใหม่ขึ้น ซึ่งศาลระบบนี้จะไม่ผูกมัดกับจารีตประเพณีหรือคำพิพากษาของศาลเดิม แต่จะยึดหลักความยุติธรรมและให้ความเป็นธรรมแก่คู่กรณี ซึ่งเรียกว่ามโนธรรมของผู้พิพากษา(Squity) ซึ่งต่อมาได้รับการยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร