วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รู้หรือไม่1


รู้หรือไม่
            
          การศึกษาวิชากฎหมายเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ทำให้เราปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในประเทศ นอกจากนี้การศึกษากฎหมายยังก่อให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตได้อีกด้วย โดยเป็นผู้รู้เท่าทันคนและไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้อื่น แต่ทั้งนี้การที่เรารู้กฎหมายเราก็ต้องไม่นำความรู้ที่เรามีไปเอารัดเอาเปรียบคนอื่นเช่นกัน
          
         เกริ่นนำด้วยข้อคิดดีๆแล้ว ต่อไปเราจะเข้าเนื้อหากฎหมายน่ารู้กันนะคะ รู้ไหมว่าการเรียนกฎหมายนั้นไม่ใช่แค่การท่องตัวบทมาตราได้แล้วจะคิดว่าเรารู้กฎหมายแล้ว ผู้ศึกษากฎหมายบางคนสามารถท่องตัวบทได้ทุกมารถตราแต่ก็ยังไม่อาจเป็นผู้ที่เข้าใจในกฎหมายได้ เพราะการศึกษากฎหมายไม่ใช่แค่การท่องจำ หากแต่สิ่งที่สำคัญคือการทำความเข้าใจ และการตีความตัวบท
              
          จะเห็นได้ว่าเมื่อเราเปิดตัวบทกฎหมาย ในแต่ละมาตราก็จะมีหลักกฎหมาย และคำศัพท์ทางกฎหมาย และบางคนอาจจะใช้ศัพท์ทางกฎหมายออกไปโดยที่ไม่รู้ถึงความหมายที่แท้จริง และควรใช้ในสถานการณ์ใด ที่เคยได้ยินบุคลรอบข้างพูดและอ้างอยู่บ่อยๆในสถานการณ์ใกล้ตัวคงเป็นคำว่า  เราไม่ได้ตั้งใจนะ มันเป็เหตุสุดวิสัยเป็นต้น ทั้งนี้ผู้พูดอาจจะไม่ได้รู้ถึงความหมายที่แท้จริงของคำว่าเหตุสุดวิสัยเลยก็ได้ ดังนั้นเราจะมาทำความรู้จักกับคำว่าเหตุสุดวิสัยกันค่ะ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา๘
      คำว่า " เหตุสุดวิสัย " หมายความว่า เหตุใดๆ อันจะเกิดขึ้น ก็ดี จะให้ผลพิบัติ ก็ดี เป็นเหตุที่ ไม่อาจป้องกันได้ แม้ทั้ง บุคคล ผู้ต้องประสบ หรือ ใกล้จะต้องประสบ เหตุนั้น จะได้จัดการ ระมัดระวัง ตามสมควร อันพึงคาดหมายได้ จาก บุคคล ในฐานะ และ ภาวะเช่นนั้น
     
                  เมื่อเราได้เปิดประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา๘ เราก็จะพบกับความหมายของเหตุสุดวิสัยที่ได้บัญญัติเอาไว้ ทั้งนี้อาจจะดูเหมือนเข้าใจง่ายแต่หากเรามองลึกๆแล้วเราจะเกิดคำถามว่า คำว่าเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้คืออะไร ในฐานะและภาวะเช่นนั้นคืออะไร เพราะในตัวบทก็ไม่ได้บอกเราเอาไว้ ดังนั้นเราจึงต้องตีความตัวบทเพื่อให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ คือเหตุที่ไม่ได้เกิดจากการกระทำของมนุษย์  อาทิเช่น ฟ้าผ่า น้ำท้วม  ลมพายุ เป็นต้น แต่ทั้งนี้การที่จะกล่าวอ้างเหตุนี้ได้ ผู้ที่ประสบ หรือใกล้ที่จะประสบภัย จะต้องได้เตรียมการ ระมัดระวังตามสมควรที่สามารถทำได้ โดยคำนึงจากฐานะ นั่นก็คือวุฒิภาวะของบุคคล อายุ อาชีพ และภาวะ คือสภาพแวดล้อมในขณะนั้นนั่นเอง
               เห็นไหมคะว่าการที่เรารู้ตัวบทแล้วเรายังต้องตีความตัวบท เพื่อให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ จะได้ใช้คำพูดนั้นถูกที่และถูกสถานการณ์ 
               นอกจากการท่องจำ การทำความเข้าใจ การตีความตัวบท  หรือแม้หมั่นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว นอกจากนี้การที่เราจะเป็นผู้ประสบความสำเร็จในวิชาชีพกฎหมายหรือการเป็นผู้ศึกษากฎหมายนั้น ยังต้องอาศัยความตั้งใจใฝ่เรียนรู้และความขยันหมั่นเพียรอีกด้วย ดังคำพูดที่ว่า อยากเก่งต้องขยัน 
              
Cr. รูปภาพ blog.eduzones.com

แปะ ความรู้12 Tips ฝึกนิสัยการอ่าน ง่ายนิดเดียว!http://blog.eduzones.com/moobo/91130



ไม่มีความคิดเห็น: