วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่

สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของประชาชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ

สิทธิ
 หมายถึง สิ่งที่ไม่มีรูปร่างซึ่งมีอยู่ในตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิดหรือเกิดขึ้นโดยกฎหมาย เพื่อให้มนุษย์ได้รับประโยชน์ และมนุษย์จะเป็นผู้เลือกใช้สิ่งนั้นเอง โดยไม่มีผู้ใดบังคับได้ เช่น สิทธิในการกิน การนอน แต่สิทธิบางอย่างมนุษย์ได้รับโดยกฎหมายกำหนดให้มี เช่น สิทธิในการมี การใช้ทรัพย์สิน สิทธิในการร้องทุกข์เมื่อตนถูกกระทำละเมิดกฎหมาย เป็นต้น 
                                    

                                                           สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ
                                                                            cc.รูปภาพwww.jvkorat.com

เสรีภาพ 
หมายถึง การใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้อย่างอิสระ  แต่ทั้งนี้จะต้องไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่น ซึ่งหากผู้ใดใช้สิทธิเสรีภาพเกินขอบเขตจนก่อความเดือดร้อนต่อผู้อื่น ก็ย่อมถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
                                                      
เสรีภาพในการนับถือศาสนา
cc.รูปภาพkanchanapisek.or.th


หน้าที่ หมายถึง การกระทำหรือการละเว้นการกระทำเพื่อประโยชน์โดยตรงของการมีสิทธิหน้าที่เป็น สิ่งที่บังคับให้มนุษย์ในสังคมต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางสังคมหรือกฎหมาย บัญญัติไว้ จะไม่ปฏิบัติตามไม่ได้ ส่วนสิทธิและเสรีภาพเป็นสิ่งที่มนุษย์มีอยู่แต่จะใช้หรือไม่ก็ได้
                                                                          
หน้าที่ในการเลือกตั้ง
cc.รูปภาพdc-danai.com


                ทั้งสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ต่างมีความสำคัญ และความจำเป็นในสังคมประชาธิปไตย  ประเทศใดที่เป็นประชาธิปไตย จะเห็นได้ว่าประชาชนในประเทศจะสามารถใช้ สิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ได้อย่างที่ปรากฏไว้ในรัฐธรรมนูญ และหากถามว่า สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ สามสิ่งนี้อะไรที่สำคัญที่สุด ต้องตอบว่า สามสิ่งนี้สำคัญเท่ากัน เพราะการปฏิบัติตนของประชาชนในประเทศตามสิทธิที่พึงมี ตามเสรีภาพที่ได้รับ และตามหน้าที่ที่ต้องปฏิบัตินั้น จะเป็นสิ่งที่วัดถึงความเป็นกฎหมาย และการปฏิบัติตามกฎหมายของคนในสังคมประชาธิปไตย
              
              


ภาระจำยอมกับทางจำเป็น

ภาระจำยอมกับทางจำเป็น
ข้อแตกต่างระหว่างภาระจำยอมกับทางจำเป็น 
ปัญหาของที่ดินที่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะหรือที่ดินที่ไม่มีทางสัญจรไปมาที่เรียกว่าที่ดินตาบอดหรือที่ดินที่ต้องตกอยู่ในภาระจำยอมโดยเจ้าของที่ดินต้องรับกรรมบางอย่างเพื่อให้ที่ดินแปลงอื่นได้ใช้ประโยชน์
ในที่ดินของตน โดยกฎหมายได้กำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้กับเจ้าของที่ดินไว้เป็น ๒ ลักษณะ คือ
กฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องภาระจำยอมและกฎหมายว่าด้วยเรื่องทางจำเป็นซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยกฎหมาย ๒ เรื่องนี้มีลักษณะทางกฎหมายและผลบังคับใช้แตกต่างกันและยังเป็นที่สับสนว่าที่ดินลักษณะใดเป็นทางจำเป็นหรือที่ดินลักษณะใดเป็นภาระจำยอม ดังนั้น บทความนี้จึงเขียนขึ้นในลักษณะ
เปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างของกฎหมายทั้งสองเรื่อง ซึ่งมีความแตกต่างกัน ดังนี้

๑. ความหมาย
ภาระจำยอม หมายถึง ทรัพยสิทธิชนิดหนึ่งที่ตัดทอนอำ นาจกรรมสิทธิ์ โดยทำ ให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์อันหนึ่งซึ่งเรียกว่า ภารยทรัพย์ ต้อง
รับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบกระเทือนทรัพย์สินของตน หรือทำให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นเพื่อประโยชน์ของอสังหาริมทรัพย์อื่นเรียกว่า
สามยทรัพย์ (มาตรา ๑๓๘๗ ป.พ.พ.)

ทางจำเป็น หมายถึง ที่ดินที่ถูกล้อมด้วยที่ดินแปลงอื่นอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ หรือมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้แต่ไม่สะดวก เช่น จะต้องข้ามบึง ทะเล หรือที่ลาดชันอันระดับที่ดินกับทางสาธารณะสูงกว่ากันมาก (มาตรา ๑๓๔๙ แห่งป.พ.พ.)กฎหมายจึงให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินแปลงที่ถูกล้อมให้มีสิทธิผ่านที่ดินแปลงอื่นซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้
(คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๖๗๒/๒๕๔๖ (ประชุมใหญ่))

๒.องค์ประกอบ
๒.๑ภาระจำยอม
- ไม่จำเป็นต้องเป็นที่ดินที่ถูกล้อมหรือที่ดินที่อยู่ติดกัน แม้ที่ดินไม่ได้อยู่ติดกันก็สามารถใช้ทางภาระจำยอมได้
- ไม่จำเป็นต้องเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะภาระจำยอมไปสู่ที่ใดก็ได้
๒.๒ทางจำเป็น 
- ต้องเป็นที่ดินที่มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ และ
- ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ หรือมีแต่ไม่สะดวก
- ใช้ออกสู่ทางสาธารณะอย่างเดียว

๓. การได้มา
๓.๑ ภาระจำยอม 
- โดยนิติกรรมสัญญา
เป็นการตกลงกันระหว่างเจ้าของภารยทรัพย์และเจ้าของสามยทรัพย์ ซึ่งจะกำหนดระยะเวลาไว้หรือไม่ก็ได้ ถ้าไม่กำหนดเวลาไว้ก็ถือว่าภาระจำยอมมีอยู่ตลอดไป จนกว่าภาระจำยอมนั้นจะระงับไป และต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา ๑๒๙๙ วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ.หากไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จะใช้บังคับได้เพียงระหว่างคู่สัญญาในฐานะเป็นบุคคลสิทธิเท่านั้น
- โดยอายุความ
กรณีเจ้าของสามยทรัพย์ได้มีการใช้ภารยทรัพย์ด้วยความสงบ เปิดเผย และเจตนาจะให้ได้สิทธิภาระจำยอมในภารยทรัพย์นั้นเป็นเวลาติดต่อกันครบ ๑๐ปี ย่อมได้สิทธิภาระจำยอมเหนือภารยทรัพย์นั้นโดย
อายุความ และการได้มาโดยอายุความนี้แม้ไม่จดทะเบียนก็ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมมีอยู่ในที่ดินนั้นต่อไปได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๐๐/๒๕๐๒,
๒๓๗/๒๕๐๘, ๑๖๕/๒๕๒๒) 
- โดยผลของกฎหมาย
กรณีปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตมีสิทธิจดทะเบียนภาระจำยอมเหนือที่ดินที่รุกล้ำนั้น  

โดย facebook ฎีกาพิศดาร
                                                                                         https://www.facebook.com/DikaPhisdartrngHin  

หลักสุจริต

หลักสุจริต : หลักที่สำคัญที่สุดของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

หลักสุจริต

เจตนารมณ์
จุดมุ่งหมายของหลักสุจริตตั้งแต่เริ่มแรกในประวัติศาสตร์กฎหมายโรมันกำเนิดขึ้นเพื่อบรร เทาแก้ไขความกระด้างตายตัวของบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งหากบังคับใช้ตามบทบัญญัติเช่นนั้นจะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่คู่กรณีกฎหมายยุติธรรมจึงถูกนำมาบรรจุในรูปคดีสุจริตเพื่อให้ผู้พิพากษาชาวโรมันมีอำนาจวินิจฉัยตามหลักความเป็นธรรมเพื่อมุ่งหมายให้เกิดความเป็นธรรมหรือหาความยุติธรรมที่แท้จริงหลักสุจริตจึงเปรียบเสมือนสัญญลักษณ์แห่งการค้นหาความเป็น ธรรม

ในสมัยโรมันยุคนั้นในกฎหมายหนี้โรมันการปฏิบัติตามสัญญาที่ตกลงกันหลักสุจริตให้พิจารณาถึงเจตนา อัน แท้จริงของคู่สัญญาไม่แต่เพียงพิจารณาถ้อยคำตามตัวอักษรที่เคร่งครัดเท่านั้นเป็นการทำให้หลักการรักษาสัญญามีความหมายทางจริยธรรมมากขึ้นและช่วยยับยั้งปฏิเสธการคดโกงความไม่ซื่อ สัตย์ความไม่เป็นธรรมรวมทั้งการกระทำที่ไม่สมเหตุสมผลต่างๆในสังคมก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมโรมันอย่างแท้จริงด้วยบทบาทสำคัญของหลักสุจริตเช่นนี้นักกฎหมายโรมันได้ทำให้ หลักสุจริตเป็นที่รวมแห่งความยุติธรรม การรักษาสัตย์ ความไว้วางใจวามเป็นธรรมและหลักศีลธรรมอันดี 

หลักสุจริตกับความยุติธรรมหรือหลักความเป็นธรรมแท้จริงแล้วเป็นสิ่งเดียวกันเนื่องจากเจตนารมณ์ของหลักสุจริตอันเป็นบทกฎหมายยุติธรรมนั้นคือมุ่งให้เกิดความเป็นธรรมหรือความยุติ ธรรมที่แท้จริงในสังคมนั่นเองนั่นคือการให้ผู้ใช้กฎหมายใช้หลักความเป็นธรรมเข้าวินิจฉัยข้อพิพาทต่างๆ หลักสุจริตเป็นการนำเอาแนวความคิดในทางศีลธรรมของสังคมเข้ามาเป็นองค์ประกอบในการปรุงแต่งกฎหมายและปรุงแต่งความสัมพันธ์ของคนในสังคมความยุติธรรมกับหลักสุจริตจึงเป็นองค์รวมเดียวกันโดยหลักสุจริตทำหน้าที่ เป็นเครื่องมือที่นำไปสู่ความยุติธรรมที่แท้จริง

หลักสุจริตถือเป็นหลักทั่วไปที่เป็นรากฐานของกฏหมายแพ่งทั้งระบบ 

บทบัญญัติที่เป็นบทหลักสุจริตถือเป็นหลักทั่วไปที่นำมาใช้ได้กับทุกเรื่อง ในประเทศ เยอรมันซึ่งเป็นประเทศแรกที่บัญญัติรรับรองหลักสุจริตเป็นประเทศแรกถือว่าเป็นบทครอบจักรวาล (Generalkauseln)ทำหน้าที่เป็นเครื่องวัดมาตรฐานควบคุมความประพฤติของบุคคลในทุกๆเรื่อง ของคนในสังคมเป็นมาตรฐานทางศีลธรรมในสังคมอันเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับความไว้วางใจและซื่อสัตย์ต่อกันรวมทั้งพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีในสังคมด้วยคู่สัญญาอีกฝ่ายย่อมคาดหมายไว้ว่าอีกฝ่ายย่อมปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในสังคมซึ่งเป็นความสัมพันธ์ของมนุษย์ร่วมสังคมเดียวกันเป็นการคาดหมายว่าคู่กรณีอีกฝ่ายที่รวมกันในสังคมเดียวกันควรปฏิบัติอย่างไรความคาดหมายเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดความไว้วางใจของบุคคลต่อบุคคลในประเทศเยอรมัน สวิสเซอร์แลนด์ และออสเตรีย เห็นพ้องต้องกันว่า แนวคิดนี้ใช้ ได้กับสังคมทุกแขนงไม่ว่ากฎหมายมหาชน หรือกฎหมายเอกชนก็ตามในกฎหมาย เยอรมันสมัยใหม่ถือว่าบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักสุจริตนี้มีความศักดิ์สิทธิมากที่สุดในกฎหมาย หนี้เยอรมันแม้กระทั่งหลักสัญญาย่อมมีผลเป็นสัญญาซึ่งนำมาใช้มากกว่าเพราะในการบังคับสิทธิ ตามสัญญาต่างๆ ต้องอยู่ภายใต้หลักการรักษาสัญญานี้เสมอแต่ก็มีความศักดิ์สิทธิน้อยกว่าหลักสุจริต
                                                                                                               ที่มา..    http://www.bloggang.com

                                                             cc.รูปภาพwww.108mart.com

วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ทำไมต้องมีกม.ระหว่างประเทศ

กฎหมายระหว่างประเทศ
ลักษณะทั่วไปของกฎหมายระหว่างประเทศ 

1.ลักษณะเฉพาะของกฎหมายระหว่างประเทศ
กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ
กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฎฐาธิปัตย์ รัฎฐาธิปัตย์ คือ ผู้ซึ่งประชาชนส่วนมายอมรับนับถือว่าเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดินหรือบ้านเมืองนั้น และผู้มีอำนาจไม่ต้องรับฟังอำนาจของผู้ใดอีก
กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้บังคับทั่วไป
กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
2.กฎหมายระหว่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายภายในประเทศใช่หรือไม่
ตามหลักคอมมอนลอว์ กฎหมายระหว่างประเทศเป็นกฎหมายภายใน
ตามหลักประมวลกฎหมาย ( นักกฎหมายในประเทศภาคพื้นยุโรป )
กฎหมายระหว่างประเทศไม่เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายภายใน นักกฎหมายมีแนวคิดเกี่ยวกับปัญหานี้แตกต่างกันไป ดังนี้ 

1.ทฤษฎีเอกนิยม
มีหลักว่า ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายภายในหรือระหว่างประเทศ มิได้เกิดจากความสมัครใจของรัฐ ซึ่งในบางกรณีอาจโดยใจสมัครก็ได้ ทฤษฎีเอกนิยมจึงอาจเรียกกฎหมายว่า กฎหมายตามความเป็นจริง 

2.ทฤษฎีทวินิยม
มีหลักว่า ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายภายในหรือระหว่างประเทศ ย่อมเกิดจากใจสมัคร เรียกว่า กฎหมายใจสมัคร 

3.ความแตกต่างระหว่างกฎหมายภายในกับกฎหมายระหว่างประเทศ
มูลฐานแห่งกฎหมายไม่ว่าจะเป็นกฎหมายภายในหรือระหว่างประเทศ ย่อมมีมูลฐานมาจากความยินยอมและการแสดงเจตนา
การบังคับใช้กฎหมาย 
- กฎหมายระหว่างประเทศกระทำได้ระหว่างรัฐหลายรัฐที่ได้แสดงเจตนาไว้แต่เบื้องต้น 
- กฎหมายภายในใช้บังคับได้แต่เพียงในรัฐใดรัฐหนึ่งเท่านั้น
การชี้ขาดปัญหาขัดแย้ง 
- การชี้ขาดปัญหาขัดแย้งเกี่ยวกับกฎหมายภายใน เป็นหน้าที่ของศาลยุติธรรมภายในประเทศ 
- กรณีมีข้อพิพาทระหว่างประเทศ สถาบันที่มีหน้าที่ในการชี้ขาดปัญหา ได้แก่ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ 
หลักเกณฑ์ของการบัญญัติกฎหมาย 
- กฎหมายระหว่างประเทศ บัญญัติโดยความยินยอมของแต่ละประเทศ 
- กฎหมายภายในประเทศ บัญญัติขึ้นโดยดุลยพินิจของรัฐ
ที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ 
1.ที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ ที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
จารีตประเพณี ซึ่งกฎหายจารีตประเพณีจะมีขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมีการปฏิบัติและความเชื่อมั่นว่ามีพันธกรณีตามกฎหมาย กฎหมายจารีตประเพณีมีความสำคัญมากในกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
หลักกฎหมายทั่วไป คือ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่มาจากกฎหมายภายในประเทศ ถือว่าเป็นบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศ สำหรับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหากไม่มีอนุสัญญาหรือหลักจารีตประเพณีมาปรับใช้บังคับในกรณีพิพาทได้ ก็จะพิจารณาพิพากษาโดยนำหลักกฎหมายทั่วไปมาใช้
2.ที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ ที่เป็นลายลักษณ์อักษร
สนธิสัญญา หมายถึง ความตกลงระหว่างประเทศที่ทำขึ้นระหว่างรัฐเป็นลายลักษณ์อักษร และอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายระหว่างประเทศ
ข้อตกลงระหว่างประเทศ ข้อตกลงระหว่างประเทศก่อให้เกิดผลทางกฎหมาย หมายถึง ผลบังคับให้ประเทศที่แสดงเจตนาตามข้อตกลงระหว่างประเทศต้องปฏิบัติตาม
คำพิพากษาของศาล หมายถึง คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ( ศาลโลก )
บทบาทของกฎหมายระหว่างประเทศ
การก่อให้เกิดและธำรงไว้ซึ่งความเป็นระเบียบเรียบร้อย ที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ส่วนรวมของสังคมแห่งรัฐเป็นบทบาทที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ทำให้ส่งเสริมมิตรภาพ ความร่วมมือปรองดอง และมิตรไมตรีระหว่างรัฐ โดยกฎหมายระหว่างประเทศไม่พึ่งพาการใช้กำลังให้รัฐอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ กล่าวคือ ไม่มีสภาพบังคับ นั่นเอง ( จึงมีผู้กล่าวว่า กฎหมายระหว่างประเทศมีลักษณะที่ไม่สมบูรณ์ หรือกล่าวอีกนัยว่า กฎหมายที่ยังไม่สุกงอม ) จึงทำให้สังคมระหว่างรัฐมีลักษณะ สังคมอนาธิปไตย ซึ่งไม่มีอำนาจสูงสุดในการบังคับบัญชา ทำให้รัฐต่าง ๆ มีการใช้กำลังต่อสู้กันอยู่บ่อย ๆ 
การคุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐที่เกิดกรณีขัดแย้งกันกฎหมายระหว่างประเทศก็เหมือนกับระบบกฎหมายอื่น ๆ กล่าวคือ เป็นผลพวงที่เกิดจากความสัมพันธ์ของอำนาจ เป็นเครื่องมือของรัฐที่มีอำนาจที่จะใช้เพื่อรักษาอำนาจที่มีอยู่ให้มั่นคงและยั่งยื่น และแสวงหาผลประโยชน์จากรัฐที่ด้อยอำนาจ
* แนวคิดของลัทธิสังคมนิยมมาร์กซิสม์ เห็นว่า กฎหมายระหว่างประเทศเป็นเครื่องมือของรัฐที่มีอำนาจและกำลัง ที่จะแสวงหาผลประโยชน์จากรัฐที่ด้อยด้วยกำลัง เช่นเดียวกับกฎหมายทั่วไป



                        Cr.รูปภาพ tuy-02

การคุ้มครองผู้บริโภค

ความหมายของการคุ้มครองผู้บริโภค            
 “บริโภค”
  ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า กิน เสพ ใช้  สิ้นเปลือง ใช้สอย จับจ่าย  ดังนั้น คำว่า
“ บริโภค”  จึงมิได้หมายถึง กิน แต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายรวมถึง           การจับจ่าย ใช้สอย การซื้อสินค้า หรือบริการต่างๆ เช่น บริการทางการแพทย์ บริการโทรคมนาคม  บริการเสริมความงาม เป็นต้น
    
     
ส่วนคำว่า
“ผู้บริโภค” หมายถึง  ผู้หนึ่งผู้ใดก็ตาม ที่จ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการ เพื่อการอุปโภค บริโภค อันเป็นการตอบสนองความต้องการของตนเอง  ทั้งนี้เป็นความต้องการทางด้านร่างกาย และรวมถึงความพึงพอใจ
               

 การคุ้มครองผู้บริโภค
หมายถึง การปกป้องดูแลผู้บริโภค ให้ได้รับความปลอดภัย เป็นธรรม และประหยัด จากการบริโภคสินค้าและบริการ

ความจำเป็นในการคุ้มครองผู้บริโภค
       ในปัจจุบันมีการแข่งขันกันในเชิงธุรกิจมาก
ทำให้ผู้ผลิตแข่งกันผลิตและบริการ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค แต่พบว่า มีผู้ผลิตจำนวนไม่น้อย ที่ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้รัฐบาล จึงต้องทำหน้าที่ดูแล และกำกับแก้ไข โดยมีจุดมุ่งหมายในการคุ้มครองผู้บริโภค ดังนี้

1.เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้เสียเปรียบผู้ผลิต
2.
เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณา
3.
เพื่อควบคุมสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ปลอดภัย หรือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
4.
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย
        ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ได้รับความเป็นธรรมและความปลอดภัย จึงได้มีการกำหนดพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งได้บัญญัติ ถึงสิทธิและการคุ้มครองผู้บริโภค ไว้ดังนี้
       
มาตรา 4 ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับความคุ้มครองดังต่อไปนี้

1.
สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้อง เพียงพอ เกี่ยวกับสินค้า หรือบริการ
2.
สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกสินค้าหรือบริการ
3.
สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัย จากการใช้สินค้าหรือบริการ
4.
สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย                
        มาตรา 5 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจดังต่อไปนี้  
1. นับ ชั่ง ตวง วัด ตรวจ สินค้า และเก็บหรือนำสินค้าในปริมาณพอสมควร ไปเป็นตัวอย่าง เพื่อทำการทดสอบ โดยไม่ต้องชำระราคาสินค้า และทั้งนี้ตามกฎเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
2.
ค้น ยึด หรือ อายัดสินค้า ภาชนะ หรือหีบห่อสินค้า ฉลาก หรือเอกสารอื่น ที่ไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดี ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ว่า มีการกระทำผิด ตามพระราชบัญญัตินี้
3.
เข้าไปในสถานที่หรือยานพาหนะใดๆ เพื่อตรวจสอบการผลิตสินค้า การขายสินค้า หรือบริการ รวมทั้งตรวจสอบสมุดบัญชี เอกสาร และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ของผู้ประกอบธุรกิจ ในกรณี ที่มีเหตุอันสงสัยว่า มีการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้
4.
มีหนังสือเรียกให้บุคคลใดๆมาให้ถ้อยคำ หรือส่งเอกสาร และหลักฐานที่จำเป็นเพื่อ ประกอบการพิจารณา ของพนักงานเจ้าหน้าที่การที่ผู้บริโภคจะได้รับสิทธิตามที่บัญญัติไว้ ก็ต่อเมื่อได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยดังนี้
1.
ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการใช้ความระมัดระวังตามสมควร ในการซื้อสินค้า และรับ บริการต่างๆ เช่น การอ่านฉลาก การอ่านข้อความสัญญา การพิจารณาการโฆษณานั้นสามารถเชื่อถือได้เพียงใด
2.
ผู้บริโภคมีหน้าที่เก็บรักษาพยานหลักฐานต่างๆ ที่แสดงถึงการละเมิดสิทธิของ ผู้บริโภคไว้ เพื่อทำการเรียกร้องตามสิทธิของตน
3.
เมื่อเกิดการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคขึ้น ผู้บริโภคมีหน้าที่ ในการดำเนินการ ร้องเรียนตามสิทธิของตน

สิทธิของผู้บริโภค
      พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ได้บัญญัติถึงสิทธิของผู้บริโภคไว้ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้  คือ
1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการโฆษณาหรือการแสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภครวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอที่จะไม่หลงผิดในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม
2.
สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความสมัครใจของผู้บริโภคและปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม
3.
สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัยมีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว
4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
5.
สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหาย
เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว