วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การคุ้มครองผู้บริโภค

ความหมายของการคุ้มครองผู้บริโภค            
 “บริโภค”
  ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า กิน เสพ ใช้  สิ้นเปลือง ใช้สอย จับจ่าย  ดังนั้น คำว่า
“ บริโภค”  จึงมิได้หมายถึง กิน แต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายรวมถึง           การจับจ่าย ใช้สอย การซื้อสินค้า หรือบริการต่างๆ เช่น บริการทางการแพทย์ บริการโทรคมนาคม  บริการเสริมความงาม เป็นต้น
    
     
ส่วนคำว่า
“ผู้บริโภค” หมายถึง  ผู้หนึ่งผู้ใดก็ตาม ที่จ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการ เพื่อการอุปโภค บริโภค อันเป็นการตอบสนองความต้องการของตนเอง  ทั้งนี้เป็นความต้องการทางด้านร่างกาย และรวมถึงความพึงพอใจ
               

 การคุ้มครองผู้บริโภค
หมายถึง การปกป้องดูแลผู้บริโภค ให้ได้รับความปลอดภัย เป็นธรรม และประหยัด จากการบริโภคสินค้าและบริการ

ความจำเป็นในการคุ้มครองผู้บริโภค
       ในปัจจุบันมีการแข่งขันกันในเชิงธุรกิจมาก
ทำให้ผู้ผลิตแข่งกันผลิตและบริการ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค แต่พบว่า มีผู้ผลิตจำนวนไม่น้อย ที่ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้รัฐบาล จึงต้องทำหน้าที่ดูแล และกำกับแก้ไข โดยมีจุดมุ่งหมายในการคุ้มครองผู้บริโภค ดังนี้

1.เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้เสียเปรียบผู้ผลิต
2.
เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณา
3.
เพื่อควบคุมสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ปลอดภัย หรือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
4.
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย
        ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ได้รับความเป็นธรรมและความปลอดภัย จึงได้มีการกำหนดพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งได้บัญญัติ ถึงสิทธิและการคุ้มครองผู้บริโภค ไว้ดังนี้
       
มาตรา 4 ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับความคุ้มครองดังต่อไปนี้

1.
สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้อง เพียงพอ เกี่ยวกับสินค้า หรือบริการ
2.
สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกสินค้าหรือบริการ
3.
สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัย จากการใช้สินค้าหรือบริการ
4.
สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย                
        มาตรา 5 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจดังต่อไปนี้  
1. นับ ชั่ง ตวง วัด ตรวจ สินค้า และเก็บหรือนำสินค้าในปริมาณพอสมควร ไปเป็นตัวอย่าง เพื่อทำการทดสอบ โดยไม่ต้องชำระราคาสินค้า และทั้งนี้ตามกฎเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
2.
ค้น ยึด หรือ อายัดสินค้า ภาชนะ หรือหีบห่อสินค้า ฉลาก หรือเอกสารอื่น ที่ไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดี ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ว่า มีการกระทำผิด ตามพระราชบัญญัตินี้
3.
เข้าไปในสถานที่หรือยานพาหนะใดๆ เพื่อตรวจสอบการผลิตสินค้า การขายสินค้า หรือบริการ รวมทั้งตรวจสอบสมุดบัญชี เอกสาร และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ของผู้ประกอบธุรกิจ ในกรณี ที่มีเหตุอันสงสัยว่า มีการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้
4.
มีหนังสือเรียกให้บุคคลใดๆมาให้ถ้อยคำ หรือส่งเอกสาร และหลักฐานที่จำเป็นเพื่อ ประกอบการพิจารณา ของพนักงานเจ้าหน้าที่การที่ผู้บริโภคจะได้รับสิทธิตามที่บัญญัติไว้ ก็ต่อเมื่อได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยดังนี้
1.
ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการใช้ความระมัดระวังตามสมควร ในการซื้อสินค้า และรับ บริการต่างๆ เช่น การอ่านฉลาก การอ่านข้อความสัญญา การพิจารณาการโฆษณานั้นสามารถเชื่อถือได้เพียงใด
2.
ผู้บริโภคมีหน้าที่เก็บรักษาพยานหลักฐานต่างๆ ที่แสดงถึงการละเมิดสิทธิของ ผู้บริโภคไว้ เพื่อทำการเรียกร้องตามสิทธิของตน
3.
เมื่อเกิดการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคขึ้น ผู้บริโภคมีหน้าที่ ในการดำเนินการ ร้องเรียนตามสิทธิของตน

สิทธิของผู้บริโภค
      พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ได้บัญญัติถึงสิทธิของผู้บริโภคไว้ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้  คือ
1.สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการโฆษณาหรือการแสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภครวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอที่จะไม่หลงผิดในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม
2.
สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความสมัครใจของผู้บริโภคและปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม
3.
สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัยมีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว
4.สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
5.
สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหาย
เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว



ขอบคุณที่มาของข้อมูลจาก  www2.udru.ac.th/~sci102/Data/Unit2/Unit2-7.htm                                 

ไม่มีความคิดเห็น: