วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ทำไมต้องมีกม.ระหว่างประเทศ

กฎหมายระหว่างประเทศ
ลักษณะทั่วไปของกฎหมายระหว่างประเทศ 

1.ลักษณะเฉพาะของกฎหมายระหว่างประเทศ
กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ
กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฎฐาธิปัตย์ รัฎฐาธิปัตย์ คือ ผู้ซึ่งประชาชนส่วนมายอมรับนับถือว่าเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดินหรือบ้านเมืองนั้น และผู้มีอำนาจไม่ต้องรับฟังอำนาจของผู้ใดอีก
กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้บังคับทั่วไป
กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
2.กฎหมายระหว่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายภายในประเทศใช่หรือไม่
ตามหลักคอมมอนลอว์ กฎหมายระหว่างประเทศเป็นกฎหมายภายใน
ตามหลักประมวลกฎหมาย ( นักกฎหมายในประเทศภาคพื้นยุโรป )
กฎหมายระหว่างประเทศไม่เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายภายใน นักกฎหมายมีแนวคิดเกี่ยวกับปัญหานี้แตกต่างกันไป ดังนี้ 

1.ทฤษฎีเอกนิยม
มีหลักว่า ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายภายในหรือระหว่างประเทศ มิได้เกิดจากความสมัครใจของรัฐ ซึ่งในบางกรณีอาจโดยใจสมัครก็ได้ ทฤษฎีเอกนิยมจึงอาจเรียกกฎหมายว่า กฎหมายตามความเป็นจริง 

2.ทฤษฎีทวินิยม
มีหลักว่า ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายภายในหรือระหว่างประเทศ ย่อมเกิดจากใจสมัคร เรียกว่า กฎหมายใจสมัคร 

3.ความแตกต่างระหว่างกฎหมายภายในกับกฎหมายระหว่างประเทศ
มูลฐานแห่งกฎหมายไม่ว่าจะเป็นกฎหมายภายในหรือระหว่างประเทศ ย่อมมีมูลฐานมาจากความยินยอมและการแสดงเจตนา
การบังคับใช้กฎหมาย 
- กฎหมายระหว่างประเทศกระทำได้ระหว่างรัฐหลายรัฐที่ได้แสดงเจตนาไว้แต่เบื้องต้น 
- กฎหมายภายในใช้บังคับได้แต่เพียงในรัฐใดรัฐหนึ่งเท่านั้น
การชี้ขาดปัญหาขัดแย้ง 
- การชี้ขาดปัญหาขัดแย้งเกี่ยวกับกฎหมายภายใน เป็นหน้าที่ของศาลยุติธรรมภายในประเทศ 
- กรณีมีข้อพิพาทระหว่างประเทศ สถาบันที่มีหน้าที่ในการชี้ขาดปัญหา ได้แก่ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ 
หลักเกณฑ์ของการบัญญัติกฎหมาย 
- กฎหมายระหว่างประเทศ บัญญัติโดยความยินยอมของแต่ละประเทศ 
- กฎหมายภายในประเทศ บัญญัติขึ้นโดยดุลยพินิจของรัฐ
ที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ 
1.ที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ ที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
จารีตประเพณี ซึ่งกฎหายจารีตประเพณีจะมีขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมีการปฏิบัติและความเชื่อมั่นว่ามีพันธกรณีตามกฎหมาย กฎหมายจารีตประเพณีมีความสำคัญมากในกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
หลักกฎหมายทั่วไป คือ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่มาจากกฎหมายภายในประเทศ ถือว่าเป็นบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศ สำหรับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหากไม่มีอนุสัญญาหรือหลักจารีตประเพณีมาปรับใช้บังคับในกรณีพิพาทได้ ก็จะพิจารณาพิพากษาโดยนำหลักกฎหมายทั่วไปมาใช้
2.ที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ ที่เป็นลายลักษณ์อักษร
สนธิสัญญา หมายถึง ความตกลงระหว่างประเทศที่ทำขึ้นระหว่างรัฐเป็นลายลักษณ์อักษร และอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายระหว่างประเทศ
ข้อตกลงระหว่างประเทศ ข้อตกลงระหว่างประเทศก่อให้เกิดผลทางกฎหมาย หมายถึง ผลบังคับให้ประเทศที่แสดงเจตนาตามข้อตกลงระหว่างประเทศต้องปฏิบัติตาม
คำพิพากษาของศาล หมายถึง คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ( ศาลโลก )
บทบาทของกฎหมายระหว่างประเทศ
การก่อให้เกิดและธำรงไว้ซึ่งความเป็นระเบียบเรียบร้อย ที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ส่วนรวมของสังคมแห่งรัฐเป็นบทบาทที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ทำให้ส่งเสริมมิตรภาพ ความร่วมมือปรองดอง และมิตรไมตรีระหว่างรัฐ โดยกฎหมายระหว่างประเทศไม่พึ่งพาการใช้กำลังให้รัฐอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ กล่าวคือ ไม่มีสภาพบังคับ นั่นเอง ( จึงมีผู้กล่าวว่า กฎหมายระหว่างประเทศมีลักษณะที่ไม่สมบูรณ์ หรือกล่าวอีกนัยว่า กฎหมายที่ยังไม่สุกงอม ) จึงทำให้สังคมระหว่างรัฐมีลักษณะ สังคมอนาธิปไตย ซึ่งไม่มีอำนาจสูงสุดในการบังคับบัญชา ทำให้รัฐต่าง ๆ มีการใช้กำลังต่อสู้กันอยู่บ่อย ๆ 
การคุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐที่เกิดกรณีขัดแย้งกันกฎหมายระหว่างประเทศก็เหมือนกับระบบกฎหมายอื่น ๆ กล่าวคือ เป็นผลพวงที่เกิดจากความสัมพันธ์ของอำนาจ เป็นเครื่องมือของรัฐที่มีอำนาจที่จะใช้เพื่อรักษาอำนาจที่มีอยู่ให้มั่นคงและยั่งยื่น และแสวงหาผลประโยชน์จากรัฐที่ด้อยอำนาจ
* แนวคิดของลัทธิสังคมนิยมมาร์กซิสม์ เห็นว่า กฎหมายระหว่างประเทศเป็นเครื่องมือของรัฐที่มีอำนาจและกำลัง ที่จะแสวงหาผลประโยชน์จากรัฐที่ด้อยด้วยกำลัง เช่นเดียวกับกฎหมายทั่วไป



                        Cr.รูปภาพ tuy-02

ไม่มีความคิดเห็น: