หลักสุจริต : หลักที่สำคัญที่สุดของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
หลักสุจริต
เจตนารมณ์
จุดมุ่งหมายของหลักสุจริตตั้งแต่เริ่มแรกในประวัติศาสตร์กฎหมายโรมันกำเนิดขึ้นเพื่อบรร เทาแก้ไขความกระด้างตายตัวของบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งหากบังคับใช้ตามบทบัญญัติเช่นนั้นจะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่คู่กรณีกฎหมายยุติธรรมจึงถูกนำมาบรรจุในรูปคดีสุจริตเพื่อให้ผู้พิพากษาชาวโรมันมีอำนาจวินิจฉัยตามหลักความเป็นธรรมเพื่อมุ่งหมายให้เกิดความเป็นธรรมหรือหาความยุติธรรมที่แท้จริงหลักสุจริตจึงเปรียบเสมือนสัญญลักษณ์แห่งการค้นหาความเป็น ธรรม
ในสมัยโรมันยุคนั้นในกฎหมายหนี้โรมันการปฏิบัติตามสัญญาที่ตกลงกันหลักสุจริตให้พิจารณาถึงเจตนา อัน แท้จริงของคู่สัญญาไม่แต่เพียงพิจารณาถ้อยคำตามตัวอักษรที่เคร่งครัดเท่านั้นเป็นการทำให้หลักการรักษาสัญญามีความหมายทางจริยธรรมมากขึ้นและช่วยยับยั้งปฏิเสธการคดโกงความไม่ซื่อ สัตย์ความไม่เป็นธรรมรวมทั้งการกระทำที่ไม่สมเหตุสมผลต่างๆในสังคมก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมโรมันอย่างแท้จริงด้วยบทบาทสำคัญของหลักสุจริตเช่นนี้นักกฎหมายโรมันได้ทำให้ หลักสุจริตเป็นที่รวมแห่งความยุติธรรม การรักษาสัตย์ ความไว้วางใจวามเป็นธรรมและหลักศีลธรรมอันดี
หลักสุจริตกับความยุติธรรมหรือหลักความเป็นธรรมแท้จริงแล้วเป็นสิ่งเดียวกันเนื่องจากเจตนารมณ์ของหลักสุจริตอันเป็นบทกฎหมายยุติธรรมนั้นคือมุ่งให้เกิดความเป็นธรรมหรือความยุติ ธรรมที่แท้จริงในสังคมนั่นเองนั่นคือการให้ผู้ใช้กฎหมายใช้หลักความเป็นธรรมเข้าวินิจฉัยข้อพิพาทต่างๆ หลักสุจริตเป็นการนำเอาแนวความคิดในทางศีลธรรมของสังคมเข้ามาเป็นองค์ประกอบในการปรุงแต่งกฎหมายและปรุงแต่งความสัมพันธ์ของคนในสังคมความยุติธรรมกับหลักสุจริตจึงเป็นองค์รวมเดียวกันโดยหลักสุจริตทำหน้าที่ เป็นเครื่องมือที่นำไปสู่ความยุติธรรมที่แท้จริง
หลักสุจริตถือเป็นหลักทั่วไปที่เป็นรากฐานของกฏหมายแพ่งทั้งระบบ
บทบัญญัติที่เป็นบทหลักสุจริตถือเป็นหลักทั่วไปที่นำมาใช้ได้กับทุกเรื่อง ในประเทศ เยอรมันซึ่งเป็นประเทศแรกที่บัญญัติรรับรองหลักสุจริตเป็นประเทศแรกถือว่าเป็นบทครอบจักรวาล (Generalkauseln)ทำหน้าที่เป็นเครื่องวัดมาตรฐานควบคุมความประพฤติของบุคคลในทุกๆเรื่อง ของคนในสังคมเป็นมาตรฐานทางศีลธรรมในสังคมอันเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับความไว้วางใจและซื่อสัตย์ต่อกันรวมทั้งพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีในสังคมด้วยคู่สัญญาอีกฝ่ายย่อมคาดหมายไว้ว่าอีกฝ่ายย่อมปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในสังคมซึ่งเป็นความสัมพันธ์ของมนุษย์ร่วมสังคมเดียวกันเป็นการคาดหมายว่าคู่กรณีอีกฝ่ายที่รวมกันในสังคมเดียวกันควรปฏิบัติอย่างไรความคาดหมายเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดความไว้วางใจของบุคคลต่อบุคคลในประเทศเยอรมัน สวิสเซอร์แลนด์ และออสเตรีย เห็นพ้องต้องกันว่า แนวคิดนี้ใช้ ได้กับสังคมทุกแขนงไม่ว่ากฎหมายมหาชน หรือกฎหมายเอกชนก็ตามในกฎหมาย เยอรมันสมัยใหม่ถือว่าบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักสุจริตนี้มีความศักดิ์สิทธิมากที่สุดในกฎหมาย หนี้เยอรมันแม้กระทั่งหลักสัญญาย่อมมีผลเป็นสัญญาซึ่งนำมาใช้มากกว่าเพราะในการบังคับสิทธิ ตามสัญญาต่างๆ ต้องอยู่ภายใต้หลักการรักษาสัญญานี้เสมอแต่ก็มีความศักดิ์สิทธิน้อยกว่าหลักสุจริต
ที่มา.. http://www.bloggang.com
cc.รูปภาพwww.108mart.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น