วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

ฟัง2

เทคนิคการเรียนเนติบัญฑิต


ฟัง1

การเสวนา มาตรา 112 ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์


เคล็ดลับ

เคล็ดลับ
เคล็ดลับการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียนนี้ เป็นเทคนิคง่าย ๆ นักเรียนนักศึกษาสามารถนำไปปฏิบัติได้ทุกคน ขอแต่เพียงเข้าใจเคล็ดลับวิธีการเท่านั้นเอง หัวใจสำคัญของการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียน คือ การหมั่นฝึกฝนตามขั้นตอนให้เกิดความเคยชินจนติดกลายเป็นนิสัยการอ่านเพื่อทำความเข้าใจนี้จะแตกต่างจากการอ่านเพียงเพื่อท่องจำ

1. เวลาอ่านบทเรียนหรือตำรา ให้อ่านอย่างตั้งใจ แต่ทว่าเราจะไม่อ่านไปเรื่อย ๆ คือเราจะ หยุดอ่านเมื่อจบย่อหน้าหรือหยุดเมื่ออ่านไปได้พอสมควรแล้ว
2. จากนั้นให้ปิดหนังสือ ! แล้วลองอธิบายสิ่งที่ตนเองได้อ่านมาให้ตัวเองฟัง คือ เราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังด้วยภาษาสำนวนของเราเอง ฟังแล้วเข้าใจหรือเปล่า หากเราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังรู้เรื่อง แสดงว่าเราเข้าใจแล้ว ให้อ่านต่อไปได้

3. หากตอนใดเราอ่านแล้วแต่ไม่สามารถอธิบายให้ตัวเองรู้เรื่อง แสดงว่ายังไม่เข้าใจ ให้กลับไปอ่านทบทวนใหม่อีกครั้ง

4. หากเราพยายามอ่านหลายรอบแล้วยังไม่เข้าใจจริงๆให้จดโน้ตไว้เพื่อนำไปถามอาจารย์ จากนั้นให้อ่านต่อไป

5. ข้อมูลบางอย่างในตำราจำเป็นที่จะต้องท่องจำ เช่น ตัวเลข สถิติ ชื่อสถานที่ บุคคล หรือ สูตร ต่าง ๆ ฯลฯ ก็ควรท่องจำไว้ด้วย เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

6. การเรียนด้วยวิธีท่องจำโดยปราศจากความเข้าใจ เรียนไปก็ลืมไป  สูญเสียเวลา  เปล่าประโยชน์ เสียเงินทอง

7. การเรียนที่เน้นแต่ความเข้าใจ โดยไม่ยอมท่องจำ ก็จะทำให้เราเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ไม่ชัดเจน คลุมเครือ
 
8. ดังนั้นจึงขอสรุปเทคนิคง่าย ๆ สั้น ๆ ดังต่อไปนี้ :-
          ก.ให้อ่านหนังสือ สลับกับ การอธิบายให้ตัวเองฟัง
          ข.ให้ท่องจำเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต้องจำจริง ๆ เช่น ตัวเลข ชื่อเฉพาะต่างๆ 

อนุญาโตตุลาการ

อนุญาโตตุลาการคืออะไร ?

        อนุญาโตตุลาการ (Arbitration) คือ การระงับข้อพิพาททางเลือกรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นจากความยินยอมของคู่สัญญา ซึ่งคู่สัญญาจะตกลงกันทำสัญญาที่เรียกว่า สัญญาอนุญาโตตุลาการ (Arbitration agreement) โดยคู่สัญญาสามารถตกลงที่จะใช้สัญญาอนุญาโตตุลาการได้เฉพาะคดีแพ่งที่เกี่ยวกับธุรกิจและการค้า โดยที่คู่สัญญาสามารถแต่งตั้งบุคคลคนเดียวหรือหลายคนเพื่อชี้ขาดข้อพิพาทที่เรียกว่า & ldquo อนุญาโตตุลาการ& rdquo [Arbitrator(s)] ซึ่งคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการสามารถนำไปบังคับตามคำชี้ขาดได้ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งการระงับข้อพิพาทด้วยอนุญาโตตุลาการนี้เป็นที่นิยมแพร่หลายกันทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการลงทุนและธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ (Investment and International Business Transaction) ตลอดจนการขนส่งระหว่างประเทศ (Logistic) เป็นต้น

ทำไมจึงต้องใช้หรือต้องมีกระบวนการอนุญาโตตุลาการ?
สาเหตุที่ต้องมีหรือใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการก็เนื่องมาจากเหตุผล ดังต่อไปนี้
1) ความรวดเร็ว
เนื่องจากการฟ้องคดีต่อศาลนั้นมีขั้นตอนมากและคู่ความยังสามารถอุทธรณ์ ฎีกาต่อไปได้ทำให้เสียเวลามาก แต่กระบวนการอนุญาโตตุลาการจะสิ้นสุดรวดเร็วและไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก 
2) ความยุ่งยากและสลับซับซ้อนของคดี
เนื่องจากโดยปกติผู้ที่เป็นอนุญาโตตุลาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุญาโตตุลาการที่คู่กรณีเลือกมักจะเป็นผู้ที่มีความรู้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่พิพาทเป็นอย่างดี ทำให้เข้าใจเรื่องที่พิพาทและพยานหลักฐานต่างๆได้รวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้การชี้ขาดข้อพิพาททำได้รวดเร็วและยุติธรรม ในขณะที่ถ้าเป็นการดำเนินคดีในศาลคู่ความไม่สามารถเลือกผู้พิพากษาที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆมาพิจารณาคดีให้ตนได้ ซึ่งก็ต้องมีการใช้พยานผู้เชี่ยวชาญมาเบิกความ ทำให้การพิจารณาคดีเป็นไปอย่างยากลำบากและล่าช้า และอาจมีปัญหาในการรับฟังพยานหลักฐาน เพราะต้องขึ้นอยู่กับว่าพยานผู้เชี่ยวชาญเบิกความอธิบายได้ชัดเจนถูกต้องมากน้อยเพียงใด
3) การรักษาชื่อเสียงและความลับ
เนื่องจากหลักการพิจารณาคดีของศาลต้องทำโดยเปิดเผย ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าฟังการพิจารณาของศาลได้ สื่อมวลชนก็อาจรับฟังและนำเสนอข่าวได้ง่าย ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อภาพพจน์ทางธุรกิจและการรักษาความลับของคู่กรณี เว้นแต่ว่าจะมีการพิจารณาคดีเป็นการลับ ซึ่งก็จะมีเป็นบางคดีเท่านั้น แต่หลักการดำเนินกระบวนพิจารณาของการอนุญาโตตุลาการนั้นกระทำเป็นความลับ เฉพาะคู่กรณีและผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้นที่มีสิทธิเข้าร่วมการพิจารณา บุคคลภายนอกไม่มีโอกาสรู้ข้อเท็จจริงโดยตรง จึงไม่รู้ว่าคู่กรณีมีข้อพิพาทกันหรือไม่ หรือมีกันอย่างไร จึงเป็นการรักษาชื่อเสียงของคู่พิพาทและความลับทางธุรกิจของคู่กรณีได้เป็นอย่างดี
4) การรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่พิพาท
เนื่องจากแนวทางการพิจารณาคดีของศาลนั้นเป็นการต่อสู้คดีกัน ทำให้คู่กรณีมีความรู้สึกเป็นศัตรูกัน อีกทั้งยังใช้เวลาต่อสู้กันยาวนาน เพราะคดีสามารถอุทธรณ์ ฎีกาต่อไปได้ ซึ่งส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ทางธุรกิจ แต่กระบวนการอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นการระงับข้อพิพาทที่เปิดโอกาสให้คู่กรณีพบปะเจรจาปัญหาที่พิพาทกันโดยตรง บรรยากาศในการพิจารณามีลักษณะเป็นกันเอง ไม่เคร่งเครียด อีกทั้งไม่มีระบบที่ให้คู่กรณีโต้แย้งเอาแพ้ชนะกัน จึงสามารถรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่พิพาทซึ่งอยู่ในวงการธุรกิจ ที่ส่วนใหญ่จะต้องคบค้าและประกอบธุรกิจกันต่อไปอีกในอนาคต

ถ่วงดุลอำนาจ


 ประชาธิปไตย คือ การปกครองที่อํานาจสูงสุดเปนของประชาชน โดยประชาชนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการดําเนินชีวิตตามความพอใจของตนเองอยางเต็มที่แตตองไมไปละเมิดตอสิทธิของบุคคลอื่นหรือขัดตอกฎหมายในระบอบประชาธิปไตยทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพในการดําเนินชีวิตอยูภายใตกฎหมายรัฐธรรมนูญและมีหนาที่ภายใตขอบเขตของกฎหมายบัญญัติไว
อํานาจอธิปไตย
อํานาจอธิปไตย คือ อํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศเปนของประชาชนทุกคน แตเนื่องจากจํานวนของประชาชนมีมากมาย การจะใหประชาชนทุกคนมารวมกันบริหารประเทศยอมเปนไปไมไดประชาชนจึงตองแตงตั้งตัวแทนที่ตนเองเห็นวาเหมาะสมและจะรักษาผลประโยชนของตนเองและประเทศชาติไดเขาไปทําหนาที่แทน โดยพระมหากษัตริยทรงใชอํานาจ(แตงตั้ง)ทั้งสามนี้ผานกลุมผูใชอํานาจอธิปไตยแทนปวงชน
อํานาจอธิปไตยแบงเปน 3 อํานาจดังนี้
1.อํานาจนิติบัญญัติ
โดยพระมหากษัตริยทรงใชอํานาจนิติบัญญัติผานทางรัฐสภา ซึ่งผูที่จะใชอํานาจนี้
คือ กลุมบุคคลที่อาสามาเปนตัวแทนของปวงชนหลายๆ คนรวมตัวกันตั้งเปนพรรคการเมืองเสนอตัวบุคคลที่ทางพรรคเห็นวาเหมาะสมใหประชาชนเลือกเปนสมาชิกสภาผูแทนราษฎร (สส.) มีอํานาจในการออกกฎหมาย ยกเลิกแกไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อใชในการบริหารประเทศ และปกปองสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งการสรางความเปนระเบียบเรียบรอยใหเกิดขึ้นแกสังคม กับบุคคลที่ไมสังกัดหรือเกี่ยวพันกับพรรคการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้งเปนสมาชิกวุฒิสภา (สว.) มีหนาที่กลั่นกรองกฎหมายที่สภาผูแทนราษฎรบัญญัติขึ้น แตในเรื่องที่สําคัญมากๆ เกี่ยวของกับผลประโยชนของแผนดินสภาใดสภาหนึ่งไมมีอํานาจใหความเห็นชอบไดตองประชุมรวมทั้งสองสภา เรียกวารัฐสภา จึงใหความเห็นชอบไดเชน การประกาศสงคราม การรับฟงคําชี้แจงและการใหความเห็นชอบสนธิสัญญาเปนตน
2. อํานาจบริหาร 
พระมหากษัตริยทรงแตงตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งที่เปนสมาชิกสภาผูแทนราษฎร ตามมติ
คะแนนเสียงมากกวากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเทาที่มีอยูของสภาผูแทนราษฎรและจะดํารงตําแหนงติดตอกันเกินสองวาระหรือเกินกวาแปดปมิได สุดแตระยะเวลาในการดํารงตําแหนงกรณีใดจะยาวกวากัน โดยประธานสภาผูแทนราษฎรเปนผูลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแตงตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นอีกไมเกินสามสิบหาคนประกอบเปนคณะรัฐมนตรีมีหนาที่บริหารราชการแผนดินตามหลักความรับผิดชอบรวมกัน
กอนที่คณะรัฐมนตรีจะเขาบริหารราชการแผนดินตองแถลงนโยบายตอรัฐสภาและชี้แจงการดําเนินการ
ตามแนวนโยบายพื้นฐานแหงรัฐโดยไมมีการลงมติไววางใจ ทั้งนี้ภายในสิบหาวันนับแตวันเขารับหนาที่และเมื่อเขารับหนาที่แลวตองจัดทําแผนการบริหารราชการแผนดินเพื่อกําหนดแนวทางการปฏิบัติราชการของแตละปี
3. อํานาจตุลาการ 
คือ อํานาจที่ใหแกศาลในการพิจารณา พิพากษาอรรถคดีความตางๆ ตามที่กฎหมาย
กําหนดไวโดยศาลมีหนาที่ใหความยุติธรรมแกทุกคนตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ฝายนิติบัญญัติไดตราขึ้นมาใชโดยพระมหากษัตริยทรงใชอํานาจตุลาการผานทางศาลตางๆ
การถวงดุลอํานาจระหวางอํานาจอธิปไตย

ความสัมพันธหรือการถวงดุลอํานาจระหวางอํานาจอธิปไตยทั้ง 3 มีลักษณะ ดังนี้
1. ฝายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา นอกจากจะมีอํานาจดานนิติบัญญัติแลว ยังมีอํานาจควบคุมการบริหาร
ราชการแผนดินของฝายบริหาร หรือรัฐบาลใหเปนไปตามที่ฝายบริหารไดแถลงนโยบายตอรัฐสภา หรือเมื่อฝายนิติบัญญัติเห็นวาประชาชนไดรับความเดือดรอน หรือประชาชนมีความตองการความชวยเหลือแตฝายบริหารยังไมเขาไปแกปญหานั้นๆใหประชาชน สมาชิกผูแทนราษฎร (ส.ส.)หรือวุฒิสมาชิก (สว.) อาจยื่นกระทูถามฝายบริหารในสภาของตนสังกัดอยูไดแตถาฝายบริหารตําแหนงใด ๆ ตั้งแตนายกรับมนตรีหรือรัฐมนตรีวาการ รัฐมนตรีชวยวาการกระทรวงใดหรือหลายๆ กระทรวงดําเนินการบริหารงานที่ฝายนิติบัญญัติเห็นวาผิดพลาดจนอันอาจจะกอใหเกิดความเสียหายตอประเทศ สมาชิกสภาผูแทนราษฎรสามารถเขาชื่อกันไมนอยกวาหนึ่งในสี่ของสมาชิกทั้งหมดขอเปด5
อภิปรายไมไววางใจนายกรัฐมนตรีหรือเขาชื่อกันไมนอยกวาหนึ่งในหาของสมาชิกทั้งหมดขอเปดอภิปรายไมไววางใจรัฐมนตรีเปนรายบุคคล ซึ่งถาเสียงสวนใหญลงมติไมไววางใจใหนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีทานใดจะทําใหรัฐบาลหรือรัฐมนตรีผูนั้นพนสภาพจากตําแหนงนั้นทันที
2. ฝายบริหาร นอกจากมีอํานาจในการบริหารราชการแผนดินแลว ยังมีอํานาจในการออกกฎหมายบาง
ชนิดที่จําตองใชในการบริหารราชการแผนดนิ เชน พระราชกําหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวงเปนตนและยังมีอํานาจที่จะควบคุมฝายนิติบัญญัติตามรัฐธรรมนูญไดใหอํานาจออกเปนพระราชกฤษฎีกายุบสภาคืนอํานาจใหแกประชาชน เพื่อใหมีการเลือกตั้งใหมแกฝายบริหาร
ถาประชาชนสวนใหญเห็นวารัฐบาลทําหนาที่ถูกตองแลว ประชาชนก็จะเลือกพรรคการเมืองที่เคยเปน
รัฐบาลนั้นเขามาเปนผูแทนของตนจํานวนมาก พรรคการเมืองนั้นก็จะมีสิทธิจัดตั้งรัฐบาลใหม แตถาประชาชนทั้งประเทศสวนใหญเห็นวารัฐบาลเดิมทําหนาที่บริหารไมถูกตอง ประชาชนก็จะเลือกพรรคการเมืองที่เคยเปนฝายคานเขามาเปนผูแทนของตนจํานวนมาก พรรคการเมืองที่เคยเปนฝายคานก็มีสิทธิในการจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ
3. ฝายตุลาการ เปนฝายเดียวที่มีความเปนอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตาง ๆ แตก็ตองพิจารณาพิพากษาตามตัวบทกฎหมายตาง ๆที่ฝายนิติบัญญัติและฝายบริหารไดบัญญัติขึ้นใชในขณะนั้น

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

รูปจาก www.dailynews.co.th

ศาลโลก หรือ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) หรือที่เรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก (World Court) ตั้งขึ้นโดยกฎบัตรสหประชาชาติเมื่อ พ.ศ. 2489 ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อเป็นองค์การสำคัญทางศาลของสหประชาชาติในการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกัน สืบต่อจากศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศของสันนิบาตชาติ (Permanent Court of International Justice) ตามบทบัญญัติต่อท้ายกฎบัตรองค์การสหประชาชาติ มีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีใดๆ ที่เป็นข้อพิพาทระหว่างประเทศ 2 ประเทศขึ้นไป (Contentious Case) เช่น ข้อพิพาทเรื่องดินแดนอาณาเขต การละเมิดอำนาจอธิปไตย ปัญหาสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ หรือแม้แต่กรณีที่เกี่ยวข้องกับเอกชนที่รัฐเป็นผู้ฟ้องแทน ฯลฯ ทั้งนี้ประเทศที่เกี่ยวข้องจะต้องยินยอมรับอำนาจศาลให้เป็นผู้พิจารณาตัดสินก่อนเท่านั้น ศาลจึงจะมีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีนั้นได้
นอกจากนี้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศยังมีอำนาจวินิจฉัยเพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาในทางกฎหมาย ระหว่างประเทศ (Advisory Opinion) ในสามกรณีหลัก คือ กรณีแรก ตามที่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ หรือ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ร้องขอ กรณีที่สอง ตามที่องค์กรอื่นภายใต้สหประชาชาติหรือองค์การชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติร้องขอโดยได้รับการอนุมัติจากสมัชชาใหญ่ และ กรณีที่สาม ตามที่ได้มีการให้อำนาจวินิจฉัยปัญหาไว้โดยสนธิสัญญา
เมื่อปี พ.ศ. 2502 ประเทศไทยเคยเกี่ยวข้องกับศาลโลกในคดีปราสาทเขาพระวิหารกับประเทศกัมพูชา โดยผลสรุป คือ ศาลโลกตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา  ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นหน่วยงานสำคัญในการดำเนินข้อตัดสินทางกฏหมาย เฉพาะประเทศเท่านั้น มิใช่บุคคล ที่จะนำเรื่องขึ้นสู่ศาลนี้ได้ เมื่อประเทศหนึ่งใด เห็นพ้องที่จะให้ศาลโลกดำเนินการ ประเทศนั้นจะต้องสัญญา ว่าจะปฏิบัติตามคำตัดสิน
องค์ประกอบของศาลระหว่างประเทศ 
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศประกอบด้วยสมาชิก 15 คน ซึ่งในจำนวนนี้จะมีผู้พิพากษาซึ่งเป็นคนชาติของรัฐใดรัฐหนึ่งเกินหนึ่งคนมิได้ โดยสมาชิกเช่นว่านั้นจะได้รับการเลือกตั้งจากสมัชชาใหญ่ การเสนอซึ่งนามของกลุ่มประเทศ จากศาลสถิตย์อนุญาโตตุลาการ กล่าวคือ ผู้พิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จะเป็นตัวแทนกลุ่มประเทศในภูมิภาคต่างๆของโลก มากกว่าที่จะได้รับเลือกมาจากรัฐบาลของรัฐใดรัฐหนึ่ง โดยสมาชิกของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะอยู่ในตำแหน่ง 9 ปี และอาจได้รับเลือกอีกได้ ทั้งนี้ สมาชิกของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 5 คน จะต้องออกจากตำแหน่งทุกๆ 3 ปี

เขตอำนาจของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 
เขตอำนาจของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจำแนกออกเป็นสองลักษณะ กล่าวคือ
1.) เขตอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททั้งปวงที่รัฐคู่พิพาทเสนอต่อศาล ในลักษณะที่เป็นกระบวนพิจารณา ในลักษณะของการต่อสู้ความ (contentious proceeding) ทั้งนี้เฉพาะ “รัฐ” เท่านั้นที่จะเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาดังกล่าวนี้ได้ และ
2.) เขตอำนาจในการให้คำแนะนำ (advisory opinion) ในปัญหาข้อกฎหมายตามที่องค์กรใดๆ อาจได้รับมอบอำนาจให้ขอความเห็นแนะนำเช่นว่านั้น หรือตามกฎบัตรสหประชาชาติ เช่น สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ หรือคณะมนตรีความมั่นคง และองค์กรอื่นๆของสหประชาชาติ ตลอดทั้งทบวงการชำนัญพิเศษ (specialized agencies) ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ
 กฎหมายระหว่างประเทศที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศใช้ในการวินิจฉัยข้อพิพาท 
กฎหมายระหว่างประเทศที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศใช้ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เสนอต่อศาลนั้น ปรากฏอยู่ในข้อ 38 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งได้แก่
1.) อนุสัญญาระหว่างประเทศไม่ว่าทั่วไป หรือโดยเฉพาะ ซึ่งกำหนดกฎเกณฑ์อันเป็นที่ยอมรับโดยชัดแจ้งโดยที่รัฐกล่าวอ้าง
2.) จารีตประเพณีระหว่างประเทศในฐานะที่เป็นหลักฐานแห่งการถือปฏิบัติโดยทั่วไป ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นกฎหมาย
3.) หลักกฎหมายทั่วไปซึ่งอารยประเทศยอมรับ
4.) ภายใต้บังคับแห่งบทของข้อ 59 คำพิพากษาของศาล และคำสอนของผู้ทรงคุณวุฒิอย่างสูงของประเทศต่างๆ ในฐานะที่เป็นเครื่องช่วยในการพิจารณากำหนดหลักกฎหมาย
นอกจากนี้ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ยังมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทโดยอาศัยหลักความยุติธรรม และความรู้สึกผิดชอบอันดี หากคู่กรณีตกลงตามนั้น

ศาลรัฐธรรมนูญ

รูปจาก www.matichon.co.th

ศาลรัฐธรรมนูญ (Constitution Court)
          เป็นศาลสูงและเป็นองค์กรอิสระ ซึ่งวินิจฉัยข้อกฎหมายในกฎหมายรัฐธรรมนูญ มีอำนาจหน้าที่หลักคือพิจารณาวินิจฉัยว่ามีกฎหมายใดขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ ตัวอย่างเช่น วินิจฉัยว่ากฎหมายนั้นๆ ขัดแย้งกับหลักพื้นฐานแห่งสิทธิและเสรีภาพหรือไม่ เป็นต้น
          โดยศาลรัฐธรรมนูญนี้ มีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ คือ การพิจารณาวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างข้อบังคับการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร ของวุฒิสภา หรือของรัฐสภา ที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ยังมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือพิจารณาวินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญโดยที่ศาลเห็นเอง หรือคู่ความโต้แย้ง และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ตลอดจนพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ
          การพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญเป็นระบบไต่สวน ศาลมีอำนาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ ซึ่งแตกต่างจากวิธีพิจารณาที่ใช้ในคดีทั่วไปของศาลยุติธรรม