วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

ศาลอุทธรณ์


ศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ คือ ศาลสูงถัดจากศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อยู่ในเขตอำนาจ กับมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่นในเขตท้องที่ที่มิได้อยู่ในเขตศาลอุทธรณ์ภาค เว้นแต่คดีที่อยู่นอกเขตศาลอุทธรณ์จะอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ก็ได้ ทั้งนี้อยู่ในดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งที่อุทธรณ์เช่นนั้นก็ได้ เว้นแต่คดีนั้นจะได้โอนมาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ทั้งนี้ โดยมีประวัติความเป็นมาคือ ก่อน ร.ศ. 110 ศาลอุทธรณ์มหาดไทยเป็นศาลหนึ่งในจำนวนศาลซึ่งตั้งอยู่ตามกระทรวงต่าง ๆ จนกระทั้ง ร.ศ. 110 ได้มีการประกาศตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น จึงได้รวมศาลทั้งหมดให้สังกัดกระทรวงยุติธรรม โดยให้ยกศาลฎีกาไปเป็นศาลอุทธรณ์คดีหลวง และให้ศาลอุทธรณ์มหาดไทยเป็นศาลอุทธรณ์คดีราษฎร์ ต่อมามีพระราชบัญญัติจัดการในสนามสถิตยุติธรรม ร.ศ. 111 ให้ยกเลิกศาลอุทธรณ์คดีหลวง คงเหลือศาลอุทธรณ์คดีราษฎร์เพียงศาลเดียว ซึ่งนิยมเรียกว่า ศาลอุทธรณ์ ใน ร.ศ. 115 ได้มีการตราพระราชบัญญัติตั้งข้าหลวงพิเศษขึ้นและมีประกาศให้คู่ความอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลหัวเมืองต่อข้าหลวงพิเศษแทนศาลอุทธรณ์ในกรุงเทพ ทำให้ศาลอุทธรณ์กลับมามี 2 ศาลอีก จนถึงปี 2469 จึงมีประกาศให้รวมศาลทั้งสองศาลเป็นศาลเดียวกัน เรียกว่า ศาลอุทธรณ์กรุงเทพฯ และเมื่อตราพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรมพุทธศักราช 2477 ซึ่งบัญญัติให้ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาจึงใช้ชื่อว่าศาลอุทธรณ์มาจนถึงปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น: