เทคนิคการเรียนเนติบัญฑิต
วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556
เคล็ดลับ
เคล็ดลับ
เคล็ดลับการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียนนี้ เป็นเทคนิคง่าย ๆ นักเรียนนักศึกษาสามารถนำไปปฏิบัติได้ทุกคน ขอแต่เพียงเข้าใจเคล็ดลับวิธีการเท่านั้นเอง หัวใจสำคัญของการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียน คือ การหมั่นฝึกฝนตามขั้นตอนให้เกิดความเคยชินจนติดกลายเป็นนิสัยการอ่านเพื่อทำความเข้าใจนี้จะแตกต่างจากการอ่านเพียงเพื่อท่องจำ
1. เวลาอ่านบทเรียนหรือตำรา ให้อ่านอย่างตั้งใจ แต่ทว่าเราจะไม่อ่านไปเรื่อย ๆ คือเราจะ หยุดอ่านเมื่อจบย่อหน้าหรือหยุดเมื่ออ่านไปได้พอสมควรแล้ว
1. เวลาอ่านบทเรียนหรือตำรา ให้อ่านอย่างตั้งใจ แต่ทว่าเราจะไม่อ่านไปเรื่อย ๆ คือเราจะ หยุดอ่านเมื่อจบย่อหน้าหรือหยุดเมื่ออ่านไปได้พอสมควรแล้ว
2. จากนั้นให้ปิดหนังสือ ! แล้วลองอธิบายสิ่งที่ตนเองได้อ่านมาให้ตัวเองฟัง คือ เราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังด้วยภาษาสำนวนของเราเอง ฟังแล้วเข้าใจหรือเปล่า หากเราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังรู้เรื่อง แสดงว่าเราเข้าใจแล้ว ให้อ่านต่อไปได้
3. หากตอนใดเราอ่านแล้วแต่ไม่สามารถอธิบายให้ตัวเองรู้เรื่อง แสดงว่ายังไม่เข้าใจ ให้กลับไปอ่านทบทวนใหม่อีกครั้ง
4. หากเราพยายามอ่านหลายรอบแล้วยังไม่เข้าใจจริงๆให้จดโน้ตไว้เพื่อนำไปถามอาจารย์ จากนั้นให้อ่านต่อไป
5. ข้อมูลบางอย่างในตำราจำเป็นที่จะต้องท่องจำ เช่น ตัวเลข สถิติ ชื่อสถานที่ บุคคล หรือ สูตร ต่าง ๆ ฯลฯ ก็ควรท่องจำไว้ด้วย เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
6. การเรียนด้วยวิธีท่องจำโดยปราศจากความเข้าใจ เรียนไปก็ลืมไป สูญเสียเวลา เปล่าประโยชน์ เสียเงินทอง
7. การเรียนที่เน้นแต่ความเข้าใจ โดยไม่ยอมท่องจำ ก็จะทำให้เราเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ไม่ชัดเจน คลุมเครือ
8. ดังนั้นจึงขอสรุปเทคนิคง่าย ๆ สั้น ๆ ดังต่อไปนี้ :-3. หากตอนใดเราอ่านแล้วแต่ไม่สามารถอธิบายให้ตัวเองรู้เรื่อง แสดงว่ายังไม่เข้าใจ ให้กลับไปอ่านทบทวนใหม่อีกครั้ง
4. หากเราพยายามอ่านหลายรอบแล้วยังไม่เข้าใจจริงๆให้จดโน้ตไว้เพื่อนำไปถามอาจารย์ จากนั้นให้อ่านต่อไป
5. ข้อมูลบางอย่างในตำราจำเป็นที่จะต้องท่องจำ เช่น ตัวเลข สถิติ ชื่อสถานที่ บุคคล หรือ สูตร ต่าง ๆ ฯลฯ ก็ควรท่องจำไว้ด้วย เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
6. การเรียนด้วยวิธีท่องจำโดยปราศจากความเข้าใจ เรียนไปก็ลืมไป สูญเสียเวลา เปล่าประโยชน์ เสียเงินทอง
7. การเรียนที่เน้นแต่ความเข้าใจ โดยไม่ยอมท่องจำ ก็จะทำให้เราเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ไม่ชัดเจน คลุมเครือ
ก.ให้อ่านหนังสือ สลับกับ การอธิบายให้ตัวเองฟัง
ข.ให้ท่องจำเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต้องจำจริง ๆ เช่น ตัวเลข ชื่อเฉพาะต่างๆ
ข.ให้ท่องจำเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต้องจำจริง ๆ เช่น ตัวเลข ชื่อเฉพาะต่างๆ
อนุญาโตตุลาการ
อนุญาโตตุลาการคืออะไร ?
อนุญาโตตุลาการ (Arbitration) คือ การระงับข้อพิพาททางเลือกรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นจากความยินยอมของคู่สัญญา ซึ่งคู่สัญญาจะตกลงกันทำสัญญาที่เรียกว่า สัญญาอนุญาโตตุลาการ (Arbitration agreement) โดยคู่สัญญาสามารถตกลงที่จะใช้สัญญาอนุญาโตตุลาการได้เฉพาะคดีแพ่งที่เกี่ยวกับธุรกิจและการค้า โดยที่คู่สัญญาสามารถแต่งตั้งบุคคลคนเดียวหรือหลายคนเพื่อชี้ขาดข้อพิพาทที่เรียกว่า & ldquo อนุญาโตตุลาการ& rdquo [Arbitrator(s)] ซึ่งคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการสามารถนำไปบังคับตามคำชี้ขาดได้ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งการระงับข้อพิพาทด้วยอนุญาโตตุลาการนี้เป็นที่นิยมแพร่หลายกันทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการลงทุนและธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ (Investment and International Business Transaction) ตลอดจนการขนส่งระหว่างประเทศ (Logistic) เป็นต้น
ทำไมจึงต้องใช้หรือต้องมีกระบวนการอนุญาโตตุลาการ?
สาเหตุที่ต้องมีหรือใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการก็เนื่องมาจากเหตุผล ดังต่อไปนี้
1) ความรวดเร็ว
เนื่องจากการฟ้องคดีต่อศาลนั้นมีขั้นตอนมากและคู่ความยังสามารถอุทธรณ์ ฎีกาต่อไปได้ทำให้เสียเวลามาก แต่กระบวนการอนุญาโตตุลาการจะสิ้นสุดรวดเร็วและไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก
2) ความยุ่งยากและสลับซับซ้อนของคดี
เนื่องจากโดยปกติผู้ที่เป็นอนุญาโตตุลาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุญาโตตุลาการที่คู่กรณีเลือกมักจะเป็นผู้ที่มีความรู้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่พิพาทเป็นอย่างดี ทำให้เข้าใจเรื่องที่พิพาทและพยานหลักฐานต่างๆได้รวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้การชี้ขาดข้อพิพาททำได้รวดเร็วและยุติธรรม ในขณะที่ถ้าเป็นการดำเนินคดีในศาลคู่ความไม่สามารถเลือกผู้พิพากษาที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆมาพิจารณาคดีให้ตนได้ ซึ่งก็ต้องมีการใช้พยานผู้เชี่ยวชาญมาเบิกความ ทำให้การพิจารณาคดีเป็นไปอย่างยากลำบากและล่าช้า และอาจมีปัญหาในการรับฟังพยานหลักฐาน เพราะต้องขึ้นอยู่กับว่าพยานผู้เชี่ยวชาญเบิกความอธิบายได้ชัดเจนถูกต้องมากน้อยเพียงใด
3) การรักษาชื่อเสียงและความลับ
เนื่องจากหลักการพิจารณาคดีของศาลต้องทำโดยเปิดเผย ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าฟังการพิจารณาของศาลได้ สื่อมวลชนก็อาจรับฟังและนำเสนอข่าวได้ง่าย ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อภาพพจน์ทางธุรกิจและการรักษาความลับของคู่กรณี เว้นแต่ว่าจะมีการพิจารณาคดีเป็นการลับ ซึ่งก็จะมีเป็นบางคดีเท่านั้น แต่หลักการดำเนินกระบวนพิจารณาของการอนุญาโตตุลาการนั้นกระทำเป็นความลับ เฉพาะคู่กรณีและผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้นที่มีสิทธิเข้าร่วมการพิจารณา บุคคลภายนอกไม่มีโอกาสรู้ข้อเท็จจริงโดยตรง จึงไม่รู้ว่าคู่กรณีมีข้อพิพาทกันหรือไม่ หรือมีกันอย่างไร จึงเป็นการรักษาชื่อเสียงของคู่พิพาทและความลับทางธุรกิจของคู่กรณีได้เป็นอย่างดี
4) การรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่พิพาท
เนื่องจากแนวทางการพิจารณาคดีของศาลนั้นเป็นการต่อสู้คดีกัน ทำให้คู่กรณีมีความรู้สึกเป็นศัตรูกัน อีกทั้งยังใช้เวลาต่อสู้กันยาวนาน เพราะคดีสามารถอุทธรณ์ ฎีกาต่อไปได้ ซึ่งส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ทางธุรกิจ แต่กระบวนการอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นการระงับข้อพิพาทที่เปิดโอกาสให้คู่กรณีพบปะเจรจาปัญหาที่พิพาทกันโดยตรง บรรยากาศในการพิจารณามีลักษณะเป็นกันเอง ไม่เคร่งเครียด อีกทั้งไม่มีระบบที่ให้คู่กรณีโต้แย้งเอาแพ้ชนะกัน จึงสามารถรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่พิพาทซึ่งอยู่ในวงการธุรกิจ ที่ส่วนใหญ่จะต้องคบค้าและประกอบธุรกิจกันต่อไปอีกในอนาคต
ถ่วงดุลอำนาจ
ประชาธิปไตย คือ การปกครองที่อํานาจสูงสุดเปนของประชาชน โดยประชาชนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการดําเนินชีวิตตามความพอใจของตนเองอยางเต็มที่แตตองไมไปละเมิดตอสิทธิของบุคคลอื่นหรือขัดตอกฎหมายในระบอบประชาธิปไตยทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพในการดําเนินชีวิตอยูภายใตกฎหมายรัฐธรรมนูญและมีหนาที่ภายใตขอบเขตของกฎหมายบัญญัติไว
อํานาจอธิปไตย
อํานาจอธิปไตย คือ อํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศเปนของประชาชนทุกคน แตเนื่องจากจํานวนของประชาชนมีมากมาย การจะใหประชาชนทุกคนมารวมกันบริหารประเทศยอมเปนไปไมไดประชาชนจึงตองแตงตั้งตัวแทนที่ตนเองเห็นวาเหมาะสมและจะรักษาผลประโยชนของตนเองและประเทศชาติไดเขาไปทําหนาที่แทน โดยพระมหากษัตริยทรงใชอํานาจ(แตงตั้ง)ทั้งสามนี้ผานกลุมผูใชอํานาจอธิปไตยแทนปวงชน
อํานาจอธิปไตยแบงเปน 3 อํานาจดังนี้
1.อํานาจนิติบัญญัติ
โดยพระมหากษัตริยทรงใชอํานาจนิติบัญญัติผานทางรัฐสภา ซึ่งผูที่จะใชอํานาจนี้
คือ กลุมบุคคลที่อาสามาเปนตัวแทนของปวงชนหลายๆ คนรวมตัวกันตั้งเปนพรรคการเมืองเสนอตัวบุคคลที่ทางพรรคเห็นวาเหมาะสมใหประชาชนเลือกเปนสมาชิกสภาผูแทนราษฎร (สส.) มีอํานาจในการออกกฎหมาย ยกเลิกแกไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อใชในการบริหารประเทศ และปกปองสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งการสรางความเปนระเบียบเรียบรอยใหเกิดขึ้นแกสังคม กับบุคคลที่ไมสังกัดหรือเกี่ยวพันกับพรรคการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้งเปนสมาชิกวุฒิสภา (สว.) มีหนาที่กลั่นกรองกฎหมายที่สภาผูแทนราษฎรบัญญัติขึ้น แตในเรื่องที่สําคัญมากๆ เกี่ยวของกับผลประโยชนของแผนดินสภาใดสภาหนึ่งไมมีอํานาจใหความเห็นชอบไดตองประชุมรวมทั้งสองสภา เรียกวารัฐสภา จึงใหความเห็นชอบไดเชน การประกาศสงคราม การรับฟงคําชี้แจงและการใหความเห็นชอบสนธิสัญญาเปนตน
2. อํานาจบริหาร
พระมหากษัตริยทรงแตงตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งที่เปนสมาชิกสภาผูแทนราษฎร ตามมติ
คะแนนเสียงมากกวากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเทาที่มีอยูของสภาผูแทนราษฎรและจะดํารงตําแหนงติดตอกันเกินสองวาระหรือเกินกวาแปดปมิได สุดแตระยะเวลาในการดํารงตําแหนงกรณีใดจะยาวกวากัน โดยประธานสภาผูแทนราษฎรเปนผูลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแตงตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นอีกไมเกินสามสิบหาคนประกอบเปนคณะรัฐมนตรีมีหนาที่บริหารราชการแผนดินตามหลักความรับผิดชอบรวมกัน
กอนที่คณะรัฐมนตรีจะเขาบริหารราชการแผนดินตองแถลงนโยบายตอรัฐสภาและชี้แจงการดําเนินการ
ตามแนวนโยบายพื้นฐานแหงรัฐโดยไมมีการลงมติไววางใจ ทั้งนี้ภายในสิบหาวันนับแตวันเขารับหนาที่และเมื่อเขารับหนาที่แลวตองจัดทําแผนการบริหารราชการแผนดินเพื่อกําหนดแนวทางการปฏิบัติราชการของแตละปี
3. อํานาจตุลาการ
คือ อํานาจที่ใหแกศาลในการพิจารณา พิพากษาอรรถคดีความตางๆ ตามที่กฎหมาย
กําหนดไวโดยศาลมีหนาที่ใหความยุติธรรมแกทุกคนตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ฝายนิติบัญญัติไดตราขึ้นมาใชโดยพระมหากษัตริยทรงใชอํานาจตุลาการผานทางศาลตางๆ
การถวงดุลอํานาจระหวางอํานาจอธิปไตย
ความสัมพันธหรือการถวงดุลอํานาจระหวางอํานาจอธิปไตยทั้ง 3 มีลักษณะ ดังนี้
1. ฝายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา นอกจากจะมีอํานาจดานนิติบัญญัติแลว ยังมีอํานาจควบคุมการบริหาร
ราชการแผนดินของฝายบริหาร หรือรัฐบาลใหเปนไปตามที่ฝายบริหารไดแถลงนโยบายตอรัฐสภา หรือเมื่อฝายนิติบัญญัติเห็นวาประชาชนไดรับความเดือดรอน หรือประชาชนมีความตองการความชวยเหลือแตฝายบริหารยังไมเขาไปแกปญหานั้นๆใหประชาชน สมาชิกผูแทนราษฎร (ส.ส.)หรือวุฒิสมาชิก (สว.) อาจยื่นกระทูถามฝายบริหารในสภาของตนสังกัดอยูไดแตถาฝายบริหารตําแหนงใด ๆ ตั้งแตนายกรับมนตรีหรือรัฐมนตรีวาการ รัฐมนตรีชวยวาการกระทรวงใดหรือหลายๆ กระทรวงดําเนินการบริหารงานที่ฝายนิติบัญญัติเห็นวาผิดพลาดจนอันอาจจะกอใหเกิดความเสียหายตอประเทศ สมาชิกสภาผูแทนราษฎรสามารถเขาชื่อกันไมนอยกวาหนึ่งในสี่ของสมาชิกทั้งหมดขอเปด5
อภิปรายไมไววางใจนายกรัฐมนตรีหรือเขาชื่อกันไมนอยกวาหนึ่งในหาของสมาชิกทั้งหมดขอเปดอภิปรายไมไววางใจรัฐมนตรีเปนรายบุคคล ซึ่งถาเสียงสวนใหญลงมติไมไววางใจใหนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีทานใดจะทําใหรัฐบาลหรือรัฐมนตรีผูนั้นพนสภาพจากตําแหนงนั้นทันที
2. ฝายบริหาร นอกจากมีอํานาจในการบริหารราชการแผนดินแลว ยังมีอํานาจในการออกกฎหมายบาง
ชนิดที่จําตองใชในการบริหารราชการแผนดนิ เชน พระราชกําหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวงเปนตนและยังมีอํานาจที่จะควบคุมฝายนิติบัญญัติตามรัฐธรรมนูญไดใหอํานาจออกเปนพระราชกฤษฎีกายุบสภาคืนอํานาจใหแกประชาชน เพื่อใหมีการเลือกตั้งใหมแกฝายบริหาร
ถาประชาชนสวนใหญเห็นวารัฐบาลทําหนาที่ถูกตองแลว ประชาชนก็จะเลือกพรรคการเมืองที่เคยเปน
รัฐบาลนั้นเขามาเปนผูแทนของตนจํานวนมาก พรรคการเมืองนั้นก็จะมีสิทธิจัดตั้งรัฐบาลใหม แตถาประชาชนทั้งประเทศสวนใหญเห็นวารัฐบาลเดิมทําหนาที่บริหารไมถูกตอง ประชาชนก็จะเลือกพรรคการเมืองที่เคยเปนฝายคานเขามาเปนผูแทนของตนจํานวนมาก พรรคการเมืองที่เคยเปนฝายคานก็มีสิทธิในการจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ
3. ฝายตุลาการ เปนฝายเดียวที่มีความเปนอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตาง ๆ แตก็ตองพิจารณาพิพากษาตามตัวบทกฎหมายตาง ๆที่ฝายนิติบัญญัติและฝายบริหารไดบัญญัติขึ้นใชในขณะนั้น
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
รูปจาก www.dailynews.co.th
ศาลโลก หรือ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) หรือที่เรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก (World Court) ตั้งขึ้นโดยกฎบัตรสหประชาชาติเมื่อ พ.ศ. 2489 ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อเป็นองค์การสำคัญทางศาลของสหประชาชาติในการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกัน สืบต่อจากศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศของสันนิบาตชาติ (Permanent Court of International Justice) ตามบทบัญญัติต่อท้ายกฎบัตรองค์การสหประชาชาติ มีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีใดๆ ที่เป็นข้อพิพาทระหว่างประเทศ 2 ประเทศขึ้นไป (Contentious Case) เช่น ข้อพิพาทเรื่องดินแดนอาณาเขต การละเมิดอำนาจอธิปไตย ปัญหาสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ หรือแม้แต่กรณีที่เกี่ยวข้องกับเอกชนที่รัฐเป็นผู้ฟ้องแทน ฯลฯ ทั้งนี้ประเทศที่เกี่ยวข้องจะต้องยินยอมรับอำนาจศาลให้เป็นผู้พิจารณาตัดสินก่อนเท่านั้น ศาลจึงจะมีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีนั้นได้
นอกจากนี้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศยังมีอำนาจวินิจฉัยเพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาในทางกฎหมาย ระหว่างประเทศ (Advisory Opinion) ในสามกรณีหลัก คือ กรณีแรก ตามที่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ หรือ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ร้องขอ กรณีที่สอง ตามที่องค์กรอื่นภายใต้สหประชาชาติหรือองค์การชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติร้องขอโดยได้รับการอนุมัติจากสมัชชาใหญ่ และ กรณีที่สาม ตามที่ได้มีการให้อำนาจวินิจฉัยปัญหาไว้โดยสนธิสัญญา
เมื่อปี พ.ศ. 2502 ประเทศไทยเคยเกี่ยวข้องกับศาลโลกในคดีปราสาทเขาพระวิหารกับประเทศกัมพูชา โดยผลสรุป คือ ศาลโลกตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นหน่วยงานสำคัญในการดำเนินข้อตัดสินทางกฏหมาย เฉพาะประเทศเท่านั้น มิใช่บุคคล ที่จะนำเรื่องขึ้นสู่ศาลนี้ได้ เมื่อประเทศหนึ่งใด เห็นพ้องที่จะให้ศาลโลกดำเนินการ ประเทศนั้นจะต้องสัญญา ว่าจะปฏิบัติตามคำตัดสิน
องค์ประกอบของศาลระหว่างประเทศ
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศประกอบด้วยสมาชิก 15 คน ซึ่งในจำนวนนี้จะมีผู้พิพากษาซึ่งเป็นคนชาติของรัฐใดรัฐหนึ่งเกินหนึ่งคนมิได้ โดยสมาชิกเช่นว่านั้นจะได้รับการเลือกตั้งจากสมัชชาใหญ่ การเสนอซึ่งนามของกลุ่มประเทศ จากศาลสถิตย์อนุญาโตตุลาการ กล่าวคือ ผู้พิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จะเป็นตัวแทนกลุ่มประเทศในภูมิภาคต่างๆของโลก มากกว่าที่จะได้รับเลือกมาจากรัฐบาลของรัฐใดรัฐหนึ่ง โดยสมาชิกของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะอยู่ในตำแหน่ง 9 ปี และอาจได้รับเลือกอีกได้ ทั้งนี้ สมาชิกของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 5 คน จะต้องออกจากตำแหน่งทุกๆ 3 ปี
เขตอำนาจของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
เขตอำนาจของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจำแนกออกเป็นสองลักษณะ กล่าวคือ
1.) เขตอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททั้งปวงที่รัฐคู่พิพาทเสนอต่อศาล ในลักษณะที่เป็นกระบวนพิจารณา ในลักษณะของการต่อสู้ความ (contentious proceeding) ทั้งนี้เฉพาะ “รัฐ” เท่านั้นที่จะเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาดังกล่าวนี้ได้ และ
2.) เขตอำนาจในการให้คำแนะนำ (advisory opinion) ในปัญหาข้อกฎหมายตามที่องค์กรใดๆ อาจได้รับมอบอำนาจให้ขอความเห็นแนะนำเช่นว่านั้น หรือตามกฎบัตรสหประชาชาติ เช่น สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ หรือคณะมนตรีความมั่นคง และองค์กรอื่นๆของสหประชาชาติ ตลอดทั้งทบวงการชำนัญพิเศษ (specialized agencies) ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ
กฎหมายระหว่างประเทศที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศใช้ในการวินิจฉัยข้อพิพาท
กฎหมายระหว่างประเทศที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศใช้ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เสนอต่อศาลนั้น ปรากฏอยู่ในข้อ 38 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งได้แก่
1.) อนุสัญญาระหว่างประเทศไม่ว่าทั่วไป หรือโดยเฉพาะ ซึ่งกำหนดกฎเกณฑ์อันเป็นที่ยอมรับโดยชัดแจ้งโดยที่รัฐกล่าวอ้าง
2.) จารีตประเพณีระหว่างประเทศในฐานะที่เป็นหลักฐานแห่งการถือปฏิบัติโดยทั่วไป ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นกฎหมาย
3.) หลักกฎหมายทั่วไปซึ่งอารยประเทศยอมรับ
4.) ภายใต้บังคับแห่งบทของข้อ 59 คำพิพากษาของศาล และคำสอนของผู้ทรงคุณวุฒิอย่างสูงของประเทศต่างๆ ในฐานะที่เป็นเครื่องช่วยในการพิจารณากำหนดหลักกฎหมาย
นอกจากนี้ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ยังมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทโดยอาศัยหลักความยุติธรรม และความรู้สึกผิดชอบอันดี หากคู่กรณีตกลงตามนั้น
ศาลรัฐธรรมนูญ
รูปจาก www.matichon.co.th
ศาลรัฐธรรมนูญ (Constitution Court)
เป็นศาลสูงและเป็นองค์กรอิสระ ซึ่งวินิจฉัยข้อกฎหมายในกฎหมายรัฐธรรมนูญ มีอำนาจหน้าที่หลักคือพิจารณาวินิจฉัยว่ามีกฎหมายใดขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ ตัวอย่างเช่น วินิจฉัยว่ากฎหมายนั้นๆ ขัดแย้งกับหลักพื้นฐานแห่งสิทธิและเสรีภาพหรือไม่ เป็นต้น
โดยศาลรัฐธรรมนูญนี้ มีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ คือ การพิจารณาวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างข้อบังคับการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร ของวุฒิสภา หรือของรัฐสภา ที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ยังมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือพิจารณาวินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญโดยที่ศาลเห็นเอง หรือคู่ความโต้แย้ง และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ตลอดจนพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ
การพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญเป็นระบบไต่สวน ศาลมีอำนาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ ซึ่งแตกต่างจากวิธีพิจารณาที่ใช้ในคดีทั่วไปของศาลยุติธรรม
ศาลทหาร
รูปภาพจาก www.abgauditing.com
ศาลทหาร (Military Court)
ได้มีขึ้นเป็นของคู่กันมาตั้งแต่มีการทหารไว้ป้องกันประเทศ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบบศาลทหารไทยปรากฏตามกฎหมายลักษณะขบฎศึก จุลศักราช 796 ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 มีศาลกลาโหม ชำระความที่เกี่ยวกับทหารและยังชำระความพลเรือนด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากสมุหพระกลาโหมนั้นมิได้มีเพียงอำนาจหน้าที่เฉพาะการบังคับบัญชาทหารบก ทหารเรือ เท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่จัดการปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ด้วย ศาลที่ขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหมมีทั้งศาลที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพ และศาลในหัวเมืองฝ่ายใต้ด้วย ศาลกลาโหมจึงมีลักษณะเป็นทั้งศาลทหารและศาลพลเรือน
พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ปรับปรุงในเรื่องการศาลทั้งหมด โดยให้ตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น และรวบรวมศาลซึ่งกระจัดกระจายสังกัดอยู่ในกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ เข้ามาสังกัดกระทรวงยุติธรรมจนหมดสิ้นทุกศาล ยกเว้นแต่เพียงศาลทหารเพียงศาลเดียวที่ยังคงให้สังกัดกระทรวงกลาโหมอยู่ตามเดิม ศาลในประเทศไทยจึงแบ่งได้เป็นศาลกระทรวงยุติธรรมกับศาลทหารนับแต่นั้นมา
ศาลทหารสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
ศาลทหารในเวลาปกติ ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ ศาลอาญาศึก
คดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
ศาลทหาร มีอำนาจ พิจารณาพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดอาญาซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิด สั่งลงโทษบุคคลใดๆ ที่กระทำผิดฐาน ละเมิดอำนาจศาล นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีอำนาจในการพิจารณาคดีอย่างอื่นได้อีกตามที่จะมีกฎหมายบัญญัติเพิ่มเติม ที่เคยมีมาแล้วเช่น ความผิดฐานกระทำการอันเป็นคอมมูนิตส์ เป็นต้น สำหรับอำนาจในการรับฟ้องคดีของศาลทหารแบ่งได้ดังนี้ ศาลจังหวัดทหารจะรับฟ้องคดีที่จำเลยมีชั้นยศเป็นนายทหารประทวน ศาลมณฑลทหารจะรับฟ้องคดีที่จำเลยมีชั้นยศตั้งแต่ชั้นประทวนจนถึงชั้นยศสัญญาบัตรแต่ไม่เกินพันเอก ส่วนศาลทหารกรุงเทพจะรับฟ้องได้หมดทุกชั้นยศ นอกจากนี้ชั้นยศจำเลยมีผลต่อการแต่งตั้งองค์คณะตุลาการที่จะพิจารณาคดีด้วย โดยองค์คณะตุลาการที่จะแต่งตั้งนั้นอย่างน้อยต้องมีผู้ที่มียศเท่ากันหรือสูงกว่าจำเลย
คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
แยกเป็น 4 ประเภท คือ
ประเภทแรก ได้แก่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน ประเภทที่สอง ได้แก่คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน ประเภทที่สาม ได้แก่คดีที่ต้องดำเนินในศาลเยาวชนและครอบครัว เนื่องจากอายุของผู้กระทำความผิด ซึ่งคงจะมีแต่เฉพาะนักเรียนทหาร ประเภทที่สี่ ได้แก่คดีที่ศาลทหารเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร คดีประเภทนี้คงจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการ ประการแรก คือ ได้มีการฟ้องคดียังศาลทหารแล้ว ประการที่สอง คือ เป็นคดีที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในสามประเภทแรก
บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
- กลุ่มแรก ได้แก่ ทหาร แยกเป็น 2 ประเภท คือ
ทหารประจำการได้แก่ ทหารที่ยึดเอาการรับราชการทหารเป็นอาชีพ ซึ่งมีทั้งทหารประจำการชั้นสัญญาบัตร ชั้นประทวน และทหารที่ไม่มียศที่เรียกกันว่า พลทหารอาสาสมัคร ทหารกองประจำการ คือ ทหารเกณฑ์ หรือทหารที่สมัครเข้ากองประจำการเพราะกฎหมายบังคับให้ต้องเป็นทหาร
- กลุ่มที่สอง ได้แก่ นักเรียนทหาร หมายถึง นักเรียนทหารที่กำหนดขึ้นโดยกระทรวงกลาโหม เช่น นักเรียนนายร้อย นักเรียนนายเรือ นักเรียนเตรียมทหาร นักศึกษาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า นักเรียนทหารดังกล่าวหากมีอายุอยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องดำเนินคดีในศาลเยาวชนและครอบครัว หากพ้นเกณฑ์อายุก็จะต้องถูกดำเนินคดีในศาลทหาร
- กลุ่มที่สาม คือบุคคลที่มิได้เป็นทหาร จำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ
บุคคลที่เป็นข้าราชการกลาโหมพลเรือน เป็นลูกจ้างในสังกัดกระทรวงกลาโหม เมื่อกระทำความผิดต่อหน้าที่ราชการโดยมาจำกัดพื้นที่ หรือความผิดอาญาอื่นโดยจำกัดพื้นที่เฉพาะในบริเวณที่ตั้งหน่วยทหาร บุคคลที่อยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น พยานที่ถูกศาลทหารออกหมายจับมาเพื่อเบิกความ บุคคลที่เป็นเชลยศึกหรือชนชาติศัตรูในช่วงเวลาที่มีศึกสงคราม
การแต่งตั้งตุลาการ
- ตุลาการศาลทหารสูงสุด และตุลาการศาลทหารกลาง ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งและถอดถอน
- ตุลาการศาลทหารชั้นต้น และศาลประจำหน่วยทหาร พระมหากษัตริย์ทรงมอบพระราชอำนาจแก่ผู้บังคับบัญชาทหาร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอน
- ตุลาการในศาลทหารชั้นต้น ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาจังหวัดทหาร เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาลจังหวัดทหาร ผู้มีอำนาจบังคับบัญชามณฑลทหาร เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาลมณฑลทหาร ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาหน่วยทหาร เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาลประจำหน่วยทหารและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาลทหารกรุงเทพ
ศาลปกครอง
ศาลปกครอง (Administrative Court)
คือศาลที่มีหน้าที่พิจารณาคดีปกครองระหว่างรัฐกับราษฎร หรือระหว่างองค์กรของรัฐ ด้วยกันเอง ทั้งนี้ เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ แยกต่างหากจากศาลยุติธรรม
ศาลปกครองเป็นศาลที่ใช้ระบบไต่สวน โดยในแต่ละคดีจะมีการพิจารณาโดยองค์คณะของตุลาการ ต่างจากศาลยุติธรรมซึ่งใช้ระบบกล่าวหา ศาลปกครองแบ่งออกเป็น "ศาลปกครองชั้นต้น" และ "ศาลปกครองสูงสุด"
ศาลปกครองชั้นต้น
ศาลปกครองกลาง มีอำนาจตัดสินคดีในเขตกรุงเทพมหานคร และอีก 7 จังหวัดใกล้เคียง หรือคดีที่ยื่นฟ้องที่ศาลปกครองกลาง ศาลปกครองในภูมิภาค ปัจจุบันมี 7 แห่ง ที่จังหวัดเชียงใหม่ สงขลา นครราชสีมา ขอนแก่น พิษณุโลก ระยอง และนครศรีธรรมราชศาลปกครองสูงสุด มีอำนาจตัดสินคดีที่ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดโดยตรง หรือคดีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น
การจัดตั้งศาลปกครอง พิจารณาคดีระหว่างรัฐกับราษฎร มีเหตุผลสำคัญอยู่ 2 ประการ คือ
ประการแรก รัฐในปัจจุบันมีบทบาทและความรับผิดชอบในชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนมากขึ้น ซึ่งหมายความว่า อำนาจของรัฐมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วย การกระทบกระทั่งระหว่างรัฐกับราษฎร ก็ต้องมากขึ้น ศาลยุติธรรมคงจะไม่สามารถรับพิจารณาคดีปกครองได้ทั้งหมด และอำนวยผลดี
ประการที่สอง การพิพาทระหว่างรัฐกับราษฎร เป็นการพิพาทที่มีลักษณะพิเศษ แตกต่างไปจากการพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชน คือเป็นการพิพาทที่คู่กรณี ไม่อยู่ในฐานะเสมอภาคกัน เพราะฉะนั้น การใช้หลักกฎหมายธรรมดาในคดีปกครองนั้น คงจะไม่ถูกต้องนัก หรือศาลไม่สามารถให้ความเป็นธรรมแก่ราษฎรได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ มองในแง่ความยุติธรรมที่ราษฎรจะพึงได้รับ เนื่องจากรัฐ มีอำนาจเหนือกว่าราษฎร โดยประการที่การพิพาทระหว่างรัฐกับราษฎรมีลักษณะพิเศษดังกล่าว หลักกฎหมายที่จะนำมาใช้ปรับคดี เพื่อความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย ก็ควรจะต้องเป็นหลักกฎหมายพิเศษ เช่นกัน และหลักกฎหมายดังกล่าวนี้ ศาลปกครองเท่านั้น จะสร้างขึ้นมาได้
ศาลปกครอง จะทำหน้าที่ประสานประโยชน์ระหว่างรัฐกับราษฎร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของราษฎร และพิทักษ์อำนาจรัฐ มิให้อำนาจรัฐทำลายเสรีภาพของราษฎร และเสรีภาพของราษฎรทำลายอำนาจรัฐ ศาลปกครองจะทำให้ทั้งสองอย่างเข้ากันได้ โดยรักษาประโยชน์ ของส่วนรวมไว้ได้ และขณะเดียวกัน ก็ให้ความยุติธรรมแก่ราษฎร
แนวความคิดทางการเมืองและการปกครองปัจจุบันที่น่าสนใจคือ การที่ประชาชนมอบอำนาจ ให้รัฐบาลจัดการปกครองประเทศเพื่อความผาสุกของตนแล้ว ใครจะเป็นผู้คอยควบคุมดูแลหรือปกครองรัฐบาลอีกทีหนึ่ง จะมีวิธีการอย่างใด และมีขอบเขตแค่ไหนที่ข้าราชการผู้ใช้อำนาจจะถูกควบคุม เพื่อป้องกันมิให้ใช้อำนาจไปในทางผิด ในการปฏิบัติทั่วไป การควบคุมรัฐบาล ในระบอบประชาธิปไตย แม้จะมีสภาผู้แทนราษฎร และสื่อมวลชนต่างๆ ทำหน้าที่ ควบคุม รัฐบาลอยู่แล้ว แต่ก็กล่าวได้ว่า เป็นการควบคุมที่ห่างเหินเกินไป หลายประเทศได้คิดค้นกลไกควบคุมฝ่ายบริหาร ขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งแต่ละประเทศก็มีวิธีปฏิบัติแตกต่างกันไป อาจจะสรุปได้เป็นแบบใหญ่ๆ ได้ 4 วิธีคือ
1. แบบฝรั่งเศส ซึ่งมีกลไกควบคุมฝ่ายปกครองโดยศาลปกครอง2. จัดให้มีศาลปกครองพิเศษเป็นแผนกหนึ่งของศาลยุติธรรม ดังที่ปฏิบัติอยู่ในสหพันธรัฐเยอรมัน3. วิธีพิจารณาคดีพิเศษ เฉพาะข้าราชการบางประเภทที่ใช้อำนาจหน้าที่มิชอบ เช่น การฟ้องร้องประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี และข้าราชการพลเรือนอื่นๆ ต่อสภาสูง (Senate) ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเรียกว่า “Impeachment”4. จัดให้มีผู้ตรวจการหรือออมบุดส์แมน (Ombudsman) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่รัฐสภาแต่งตั้ง ให้มีอำนาจหน้าที่ รับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนผู้เห็นว่าสิทธิของตนถูกละเมิด โดยการกระทำของฝ่ายปกครอง อาจเป็นการกระทำนอกเหนือกฎหมาย หรือการใช้ดุลพินิจอันไม่สมควร ดังที่ปฏิบัติอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์ ฟินแลนด์ สวีเดน เดนมาร์คและประเทศไทย เป็นต้น
ประเทศในภาคพื้นยุโรปหลายประเทศ มีศาลปกครองทำหน้าที่พิจารณาคดีอันเป็นกรณีพิพาทระหว่างรัฐกับประชาชน องค์การของรัฐด้วยกันเองและข้าราชการกับประชาชน ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ศาลปกครองดังกล่าวนี้ จะถือหลักว่าด้วยความถูกต้องในการใช้อำนาจของรัฐและหลักการว่าด้วยความรับผิดชอบของรัฐ
หลักว่าด้วยความถูกต้องในการใช้อำนาจของรัฐ หมายความว่า อำนาจรัฐที่มีอยู่จะต้องใช้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย หรือศาลปกครอง เป็นผู้ควบคุมการใช้อำนาจของรัฐ ส่วน หลักการว่าด้วยความรับผิดชอบของรัฐ มีสาระสำคัญว่า อำนาจของรัฐต้องใช้อย่างมีความรับผิดชอบ ซึ่งหมายถึงการกระทำใด ๆ ของรัฐ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน รัฐจะต้องชดใช้ค่าเสียหายหรืองดเว้นปฏิบัติ เพื่อมิให้ความเสียหายเกิดขึ้น
การจัดตั้งศาลปกครองที่ประเทศต่าง ๆ ปฏิบัติอยู่ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ระบบ
ระบบแรก ให้ศาลปกครองขึ้นต่อศาลยุติธรรม แต่ระบบศาลปกครองที่ขึ้นกับศาลยุติธรรม มีจุดอ่อนอยู่ที่ว่า หลักกฎหมายที่ใช้ในศาลปกครอง และศาลยุติธรรมมีข้อแตกต่างกัน หรือจะทำให้เหมือนกันได้ยาก ในทางปฏิบัติ จึงมักจะเกิดความสับสน เมื่อมีการอุทธรณ์ ฎีกาจากศาลปกครองไปสู่ศาลยุติธรรม เพราะศาลปกครองจะใช้หลักกฎหมายอย่างหนึ่ง ศาลยุติธรรมจะใช้หลักกฎหมายอีกอย่างหนึ่งระบบที่สอง โดยการแยกศาลปกครอง ออกเป็นศาลหนึ่งต่างหาก มีองค์การและเจ้าหน้าที่ของตนเอง ไม่ขึ้นต่อศาลยุติธรรม การจำแนกระบบศาลปกครองดังระบบที่สอง ยกตัวอย่างเช่นประเทศไทยเป็นต้น
ประเทศที่แยกศาลปกครองและศาลยุติธรรมออกจากกัน หรือใช้ระบบศาลคู่ คือ แยกศาล ออกเป็นสองสาย ในแต่ละสายมีศาลสูงสุดของตัวเอง ศาลทั้งสองต่างเป็นอิสระต่อกัน และต่างมีหน้าที่ ของตน อย่างไรก็ดี ระบบที่แยกศาลออกเป็นสองสายนี้ ก็มีปัญหายุ่งยากอยู่บ้าง กล่าวคือ เกิดความขัดแย้งกันใน 3 รูป ได้แก่ (1) การขัดแย้งกันในอำนาจศาล (2) การขัดแย้งกันในเรื่องของการปฏิเสธ ให้ความยุติธรรม ทั้งนี้ โดยที่แต่ละศาลวินิจฉัยว่าตนไม่มีอำนาจพิจารณาคดี และ (3) การขัดแย้งกัน ในการตัดสินของศาล กรณีเช่นนี้ อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อศาลยุติธรรมและศาลปกครอง พิจารณาคดีเดียวกัน แต่การตัดสินของศาลขัดกัน เช่น นาย ก. อาศัยรถยนต์ส่วนตัว ของนาย ข. ไปทำธุรกิจ รถคันที่นาย ก. นั่งไป เกิดชนกับรถของทางราชการ และได้รับบาดเจ็บสาหัส ประการแรก นาย ก. อาจจะฟ้องคนขับรถ ที่ตนนั่งไป ต่อศาลยุติธรรม ซึ่งศาลยุติธรรม อาจจะวินิจฉัยว่า ผู้ที่จะต้องรับผิดชอบนั้น คือคนขับรถราชการ และแนะนำให้ไปฟ้องศาลปกครอง นาย ก. ไม่รู้จะไปฟ้อง ณ ศาลใด อย่างไรก็ดี ในฝรั่งเศสซึ่งเป็นแบบฉบับของการใช้ระบบศาลคู่ ได้แก้ปัญหาขัดแย้งนี้ โดยการจัดตั้งศาลปกครองพิเศษขึ้น เรียกว่า “Tribunal des Conflite” หรือศาลพิจารณาการขัดแย้ง ประกอบด้วย ผู้พิพากษา ของศาลยุติธรรมสูงสุด และศาลปกครองสูงสุด แต่ละฝ่ายจำนวนเท่ากัน ศาลนี้จะทำหน้าที่วินิจฉัยว่า ศาลยุติธรรม หรือศาลปกครอง มีเขตอำนาจหน้าที่เหนือคดี และศาลนี้จะต้องตัดสินคดีเอง หากศาลยุติธรรม และศาลปกครอง ตัดสินชี้ขาดขัดแย้งกัน
ศาลฎีกา
ศาลฎีกา
ศาลฎีกา คือ ศาลสูงสุดซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการฎีกา นอกจากนี้ ยังมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่น
องค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีประกอบด้วยผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน แต่หากคดีใดมีปัญหาสำคัญ ประธานศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้นำปัญหาดังกล่าวเข้าสู่การวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาศาลฎีกาทุกคนซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในวันที่มีการจัดประชุมใหญ่ แต่ทั้งนี้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้พิพากษาศาลฎีกาทั้งหมด
ศาลฎีกามีแผนกคดีพิเศษทั้งสิ้น 10 แผนก เพื่อวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่อาศัยความชำนาญพิเศษ มีผู้พิพากษาศาลฎีกาประจำแผนก ๆ ละ ประมาณ 10 คน ได้แก่
แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว แผนกคดีแรงงาน แผนกคดีภาษีอากร แผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ แผนกคดีล้มละลาย แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจ แผนกคดีสิ่งแวดล้อม แผนกคดีปกครอง แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา เป็นแผนกที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมืองอื่นซึ่งถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น รวมทั้งกรณีบุคคลอื่นที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนด้วย
องค์คณะผู้พิพากษาในแผนกนี้ประกอบด้วย ผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวน 9 คน ที่คัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ขึ้นนั่งพิจารณาคดีเช่นเดียวกับศาลชั้นต้น แต่การพิจารณาคดีจะเป็นระบบไต่สวน ซึ่งแตกต่างจากวิธีพิจารณาที่ใช้ในคดีทั่วไป ศาลมีอำนาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ตามวิธีพิจารณาคดีที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542
ศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ คือ ศาลสูงถัดจากศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อยู่ในเขตอำนาจ กับมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่นในเขตท้องที่ที่มิได้อยู่ในเขตศาลอุทธรณ์ภาค เว้นแต่คดีที่อยู่นอกเขตศาลอุทธรณ์จะอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ก็ได้ ทั้งนี้อยู่ในดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งที่อุทธรณ์เช่นนั้นก็ได้ เว้นแต่คดีนั้นจะได้โอนมาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ทั้งนี้ โดยมีประวัติความเป็นมาคือ ก่อน ร.ศ. 110 ศาลอุทธรณ์มหาดไทยเป็นศาลหนึ่งในจำนวนศาลซึ่งตั้งอยู่ตามกระทรวงต่าง ๆ จนกระทั้ง ร.ศ. 110 ได้มีการประกาศตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น จึงได้รวมศาลทั้งหมดให้สังกัดกระทรวงยุติธรรม โดยให้ยกศาลฎีกาไปเป็นศาลอุทธรณ์คดีหลวง และให้ศาลอุทธรณ์มหาดไทยเป็นศาลอุทธรณ์คดีราษฎร์ ต่อมามีพระราชบัญญัติจัดการในสนามสถิตยุติธรรม ร.ศ. 111 ให้ยกเลิกศาลอุทธรณ์คดีหลวง คงเหลือศาลอุทธรณ์คดีราษฎร์เพียงศาลเดียว ซึ่งนิยมเรียกว่า ศาลอุทธรณ์ ใน ร.ศ. 115 ได้มีการตราพระราชบัญญัติตั้งข้าหลวงพิเศษขึ้นและมีประกาศให้คู่ความอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลหัวเมืองต่อข้าหลวงพิเศษแทนศาลอุทธรณ์ในกรุงเทพ ทำให้ศาลอุทธรณ์กลับมามี 2 ศาลอีก จนถึงปี 2469 จึงมีประกาศให้รวมศาลทั้งสองศาลเป็นศาลเดียวกัน เรียกว่า ศาลอุทธรณ์กรุงเทพฯ และเมื่อตราพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรมพุทธศักราช 2477 ซึ่งบัญญัติให้ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาจึงใช้ชื่อว่าศาลอุทธรณ์มาจนถึงปัจจุบัน
ศาลยุติธรรม
รูปภาพจาก www.oklampang.com
ศาลยุติธรรม (The Court of Justice)
เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น
ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เว้นแต่ที่มีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมายอื่น
ศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย ศาลอุทธรณ์ ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค ศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลยุติธรรมสูงสุด ที่มีอยู่เพียงศาลเดียวศาลชั้นต้นศาลแพ่งเป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น ศาลแพ่งมีเขตตลอดท้องที่กรุงเทพมหานคร นอกจากท้องที่ที่อยู่ในเขตของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลจังหวัดมีนบุรี และศาลยุติธรรมอื่นตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้ ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง และคดีนั้นเกิดขึ้นนอกเขตของศาลแพ่ง ศาลแพ่งอาจใช้ดุลพินิจยอมรับไว้พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลยุติธรรมอื่นที่มีเขตอำนาจศาลอาญาเป็นศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร นอกจากท้องที่ที่อยู่ในเขตของศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี และศาลจังหวัดมีนบุรี แต่บรรดาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตอำนาจศาลอาญานั้นจะยื่นฟ้องต่อศาลอาญาก็ได้ ทั้งนี้อยู่ในดุลพินิจของศาลอาญาที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งที่ยื่นฟ้องเช่นนั้นก็ได้ เว้นแต่คดีนั้นจะโอนมาตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความศาลจังหวัดเป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นที่ตั้งประจำในแต่ละจังหวัดหรือในบางอำเภอ มีเขตตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดนั้นได้กำหนดไว้ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัด และคดีนั้นเกิดขึ้นในเขตของศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวง ศาลจังหวัดนั้นต้องมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอำนาจศาลภาษีอากรกลางเป็นศาลที่ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2530 มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีภาษีอากร ซึ่งมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีแพ่งทั่วไป เพราะเป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับรัฐอันเนื่องมาจากการเก็บภาษีอากร การอุทธรณ์ในคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลภาษีอากรให้อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกา ไม่ต้องผ่านศาลอุทธรณ์เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินคดีพจนานุกรม ไทย-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ศาลภาษีอากร ความหมาย (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งที่กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากร เช่น คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร.ศาลแรงงานกลางจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 เ ปิดทำการเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2523 โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นศาลชำนัญพิเศษ พิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน ซึ่งมีความแตกต่างจากอรรถคดีทั่วไป การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลแรงงาน จะใช้วิธีไกล่เกลี่ย และการระงับข้อพิพาทเป็นหลัก แต่หากคู่กรณี (นายจ้าง-ลูกจ้าง) ไม่สามารถตกลงกันได้ ศาลก็จะพิจารณาตัดสินชี้ขาดตามบัญญัติ แห่งกฎหมาย โดยคำนึงถึงความเป็นธรรม และความสงบเรียบร้อย ต่อไปศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการจ้างแรงงาน สิทธิหน้าที่ตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งได้แก่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน กฎหมายว่าด้วยประกันสังคม เป็นต้น รวมทั้งกรณีละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างการพิจารณาคดีประกอบด้วยผู้พิพากษา 3 ฝ่าย คือ ผู้พิพากษาซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายตุลาการ ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้าง จำนวนฝ่ายละเท่าๆกัน ร่วมเป็นองค์คณะการพิจารณาพิพากษาคดี
กฎหมายอาญา
หลักการพื้นฐาน
(ก) หลักการกำหนดโทษทางอาญาจะต้องมีกฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติไว้อย่างชัดเจน
หมายความว่าการกระทำใดเป็นความผิดทางอาญาหรือไม่ เป็นความผิดประเภทใดและต้องถูกลงโทษฐานใดจะต้องบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนในบทบัญญัติของกฎหมายอาญา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรกำหนดว่าการกระทำใดเป็นความผิดทางอาญา การกระทำสิ่งนั้นย่อมไม่เป็นความผิดทางอาญา ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรกำหนดว่าการกระทำใดต้องรับโทษทางอาญา การกระทำสิ่งนั้นย่อมไม่ต้องรับโทษทางอาญา
(ข) หลักการการกำหนดโทษจะต้องเหมาะสมกับฐานความผิด
หมายความว่าการกำหนดโทษจะต้องสอดคล้องกับฐานความผิด กล่าวคือ ความผิดกำหนดโทษทางอาญา ความผิดหนักต้องลงโทษหนัก ความผิดเบาต้องลงโทษเบา ความผิดและโทษต้องเหมาะสมต่อกัน การลงโทษต้องสอดคล้องกับความผิด
(ค) หลักทุกคนเสมอภาคบนกฎหมายเดียวกัน
การกำหนดว่าพฤติกรรมใดเป็นความผิดทางอาญา และความผิดทางอาญาใดควรจะลงโทษอย่างไร จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด บุคคลใดจะมีอภิสิทธิ์เหนือบุคคลอื่นเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้มิได้
หลักการพื้นฐานเหล่านี้ถือเป็นหัวใจและจิตวิญญาณของกฎหมายอาญา
หลักการพื้นฐานเหล่านี้ถือเป็นหัวใจและจิตวิญญาณของกฎหมายอาญา
สภาพการบังคับใช้
กฎหมายอาญาจะมีสภาพบังคับใช้ ณ ที่ใด กับบุคคลใด และเมื่อไหร่ รวมทั้งการบังคับใช้กฎหมายจะมีผลย้อนหลังหรือไม่ ถือเป็นขอบเขตของการบังคับใช้กฎหมายอาญา
ในการพิจารณาเรื่องนี้แบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกัน
(ก) ขอบเขตการบังคับใช้
โดยหลักแล้วดูที่อาณาเขตพื้นที่ที่มีการกระทำความผิดเป็นหลัก ส่วนผู้กระทำความผิดและสิ่งที่กฎหมายคุ้มครองเป็นรองพิจารณาควบคู่กันไป กล่าวคือ โดยหลักแล้วการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นในเขตอาณาจักรของประเทศจีนให้บังคับใช้กฎหมายอาญาจีน เว้นแต่ 4 กรณี คือ
- กรณีบุคคลผู้ได้รับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตทางการทูต
- กรณีที่เขตปกครองตนเองของชนชาติส่วนน้อยได้มีกฎระเบียบท้องถิ่นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
- กรณีที่มีกฎหมายบัญญัติเป็นการเฉพาะไว้เป็นกรณีพิเศษ
- กรณีเขตบริหารพิเศษมีกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
- กรณีที่เขตปกครองตนเองของชนชาติส่วนน้อยได้มีกฎระเบียบท้องถิ่นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
- กรณีที่มีกฎหมายบัญญัติเป็นการเฉพาะไว้เป็นกรณีพิเศษ
- กรณีเขตบริหารพิเศษมีกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
สำหรับกรณีประชาชนจีนกระทำความผิดตามกฎหมายอาญาจีนนอกเขตอาณาจักรประเทศจีน ให้บังคับใช้กฎหมายอาญาของจีน แต่ถ้าหากความผิดนั้นตามกฎหมายอาญาจีนกำหนดโทษไว้ต่ำกว่า 3 ปี อาจไม่ถูกดำเนินคดี
กรณีพนักงานเจ้าหน้าที่หรือทหารของรัฐบาลจีนกระทำความผิดอาญาตามที่กฎหมายอาญาจีนบัญญัติไว้นอกเขตอาณาจักรประเทศจีน จะต้องรับโทษตามกฎหมายอาญาจีน
กรณีคนต่างชาติได้กระทำความผิดตามกฎหมายอาญาจีนต่อประเทศจีนหรือประชาชนจีนนอกเขตอาณาจักรประเทศจีน หากการกระทำความผิดดังกล่าวตามกฎหมายอาญาจีนกำหนดโทษไว้เกินกว่า 3 ปี ให้นำกฎหมายอาญาจีนมาบังคับใช้ เว้นแต่ การกระทำนั้นกฎหมายอาญาของประเทศที่เกิดการกระทำความผิดขึ้นไม่ถือว่าเป็นความผิดทางอาญา
กรณีการกระทำความผิดตามที่กฎหมายอาญาจีนบัญญัติว่าเป็นความผิดนอกเขตอาณาจักรประเทศจีน ผู้กระทำความผิดยังคงต้องรับโทษทางอาญาตามกฎหมายอาญาจีน แม้การกระทำความผิดนั้นจะได้มีการพิจารณาพิพากษาตัดสินลงโทษแล้วในต่างประเทศ กฎหมายอาญาจีนยังคงมีสิทธิบังคับใช้กับการกระทำความผิดดังกล่าว แต่ถ้าผู้กระทำความผิดได้รับโทษตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศแล้ว บุคคลผู้นั้นอาจไม่ต้องรับโทษซ้ำอีกในประเทศจีนหรืออาจได้รับลดหย่อนผ่อนโทษตามความเหมาะสม
กรณีคนต่างชาติได้กระทำความผิดตามกฎหมายอาญาจีนต่อประเทศจีนหรือประชาชนจีนนอกเขตอาณาจักรประเทศจีน หากการกระทำความผิดดังกล่าวตามกฎหมายอาญาจีนกำหนดโทษไว้เกินกว่า 3 ปี ให้นำกฎหมายอาญาจีนมาบังคับใช้ เว้นแต่ การกระทำนั้นกฎหมายอาญาของประเทศที่เกิดการกระทำความผิดขึ้นไม่ถือว่าเป็นความผิดทางอาญา
กรณีการกระทำความผิดตามที่กฎหมายอาญาจีนบัญญัติว่าเป็นความผิดนอกเขตอาณาจักรประเทศจีน ผู้กระทำความผิดยังคงต้องรับโทษทางอาญาตามกฎหมายอาญาจีน แม้การกระทำความผิดนั้นจะได้มีการพิจารณาพิพากษาตัดสินลงโทษแล้วในต่างประเทศ กฎหมายอาญาจีนยังคงมีสิทธิบังคับใช้กับการกระทำความผิดดังกล่าว แต่ถ้าผู้กระทำความผิดได้รับโทษตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศแล้ว บุคคลผู้นั้นอาจไม่ต้องรับโทษซ้ำอีกในประเทศจีนหรืออาจได้รับลดหย่อนผ่อนโทษตามความเหมาะสม
(ข) เวลาการบังคับใช้
โดยหลักแล้ว กฎหมายอาญาย่อมมีผลบังคับกับการกระทำความผิดในขณะที่กฎหมายนั้นมีผลบังคับใช้ กรณีกฎหมายอาญามีผลย้อนหลังไปบังคับใช้กับการกระทำที่เกิดขึ้นก่อนหน้าที่กฎหมายอาญาจะมีผลบังคับใช้หรือไม่นั้น แยกพิจารณา ดังนี้
- หากว่ากฎหมายเดิมที่บังคับใช้ในขณะที่มีการกระทำ บัญญัติว่า การกระทำนั้นไม่เป็นความผิดทางอาญา ก็ให้ใช้กฎหมายในขณะนั้นบังคับ
- หากว่ากฎหมายเดิมที่บังคับใช้ในขณะที่มีการกระทำบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดทางอาญาและต้องรับโทษทางอาญา และกฎหมายอาญาฉบับปัจจุบันก็ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดด้วย ให้ดำเนินคดีอาญากับผู้นั้นตามบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในกฎหมายในขณะที่มีการกระทำความผิด
- หากว่ากฎหมายอาญาที่บังคับใช้ในปัจจุบันไม่ถือว่าการกระทำใดเป็นความผิดหรือเป็นการกระทำที่มีความผิดแต่ต้องรับโทษน้อยลงแล้ว ให้ใช้กฎหมายอาญาที่ฉบับปัจจุบันบังคับใช้แก่กรณีนั้น
- ในกรณีที่ก่อนกฎหมายอาญาฉบับปัจจุบันจะบังคับใช้ หากมีการกระทำที่เป็นความผิดตามกฎหมายอาญาเดิมและได้มีการพิพากษาลงโทษไปแล้ว ให้บังคับตามคำพิพากษานั้นต่อไป (กฎหมายใหม่ไม่ถือว่าเป็นการนิรโทษกรรม การกระทำความผิดตามกฎหมายเก่า)
- หากว่ากฎหมายเดิมที่บังคับใช้ในขณะที่มีการกระทำบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดทางอาญาและต้องรับโทษทางอาญา และกฎหมายอาญาฉบับปัจจุบันก็ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดด้วย ให้ดำเนินคดีอาญากับผู้นั้นตามบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในกฎหมายในขณะที่มีการกระทำความผิด
- หากว่ากฎหมายอาญาที่บังคับใช้ในปัจจุบันไม่ถือว่าการกระทำใดเป็นความผิดหรือเป็นการกระทำที่มีความผิดแต่ต้องรับโทษน้อยลงแล้ว ให้ใช้กฎหมายอาญาที่ฉบับปัจจุบันบังคับใช้แก่กรณีนั้น
- ในกรณีที่ก่อนกฎหมายอาญาฉบับปัจจุบันจะบังคับใช้ หากมีการกระทำที่เป็นความผิดตามกฎหมายอาญาเดิมและได้มีการพิพากษาลงโทษไปแล้ว ให้บังคับตามคำพิพากษานั้นต่อไป (กฎหมายใหม่ไม่ถือว่าเป็นการนิรโทษกรรม การกระทำความผิดตามกฎหมายเก่า)
การกระทำความผิดทางอาญา
การกระทำใดๆ ที่เป็นภัยต่ออำนาจอธิปไตย ความมั่นคงและบูรณาการของประเทศ การแบ่งแยกดินแดน การเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบบประชาธิปไตยแบบเผด็จการโดยประชาชน การล้มล้างระบบสังคมนิยม การทำลายความสงบเรียบร้อยของประชาชน การทำลายความเป็นระเบียบเรียบร้อยของระบบเศรษฐกิจ การละเมิดทรัพย์สินของแผ่นดินหรือของมวลชนผู้ใช้แรงงานหรือของชุมชน การละเมิดทรัพย์สินของปัจเจกชน การละเมิดสิทธิในชีวิตและร่างกายของประชาชน การละเมิดสิทธิของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งการกระทำใดๆ ที่เป็นภัยต่อสังคม ให้ถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดทางอาญาและต้องรับโทษตามกฎหมาย
การกระทำที่เป็นความผิดทางอาญาและต้องรับโทษตามกฎหมายนั้น มีลักษณะ ดังนี้
(ก) จะต้องเป็นการกระทำที่เป็นผลร้ายต่อสังคม
การกระทำความผิดทางอาญานั้นจะเป็นความผิดก็ต่อเมื่อมีข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นในทางภาวะวิสัยแล้วเท่านั้น ลำพังเป็นแค่ความคิดแต่ยังไม่มีการกระทำใดๆ ที่แสดงออกมาทางกายภาพย่อมไม่ถือว่าเป็นความผิดทางอาญา
(ข) จะต้องเป็นการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย
การกระทำใดๆ ที่เป็นผลร้ายต่อสังคมนั้น เมื่อได้แสดงออกมาทางกายภาพแล้ว จะเป็นการกระทำความผิดทางอาญาก็ต่อเมื่อมีบทบัญญัติห้ามไว้ในกฎหมายอาญาเท่านั้น จึงจะถือว่าเป็นการกระทำผิดตามอาญา
(ค) จะต้องเป็นการกระทำที่ต้องรับโทษทางอาญา
การกระทำที่เป็นผลร้ายต่อสังคมซึ่งได้แสดงออกทางกายภาพซึ่งถือว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายนั้น จะต้องเป็นการกระทำที่ต้องรับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เพราะการกำหนดโทษถือเป็นผลอันเนื่องมาจากการกระทำที่กฎหมายได้ห้ามไว้และการกระทำนั้นเป็นผลร้ายต่อสังคม
การกระทำใดๆ ที่ถือว่าเป็นการกระทำความผิดทางอาญานั้น จะต้องประกอบด้วยเงื่อนไขทางด้านอัตวิสัยและเงื่อนไขทางด้านภาวะวิสัย กล่าวคือ เงื่อนไขทางอัตวิสัยต้อง ประกอบด้วยผู้กระทำและเจตนาของการกระทำ เงื่อนไขทางภาวะวิสัยต้องประกอบด้วยสิ่งที่ถูกกระทำและผลที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่ถูกกระทำ 4 ปัจจัยดังกล่าวนี้จะต้องเกิดขึ้นครบถ้วน จึงจะครบองค์ประกอบของการกระทำความผิดทางอาญา
การกระทำใดๆ ที่ถือว่าเป็นการกระทำความผิดทางอาญานั้น จะต้องประกอบด้วยเงื่อนไขทางด้านอัตวิสัยและเงื่อนไขทางด้านภาวะวิสัย กล่าวคือ เงื่อนไขทางอัตวิสัยต้อง ประกอบด้วยผู้กระทำและเจตนาของการกระทำ เงื่อนไขทางภาวะวิสัยต้องประกอบด้วยสิ่งที่ถูกกระทำและผลที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่ถูกกระทำ 4 ปัจจัยดังกล่าวนี้จะต้องเกิดขึ้นครบถ้วน จึงจะครบองค์ประกอบของการกระทำความผิดทางอาญา
องค์ประกอบของการกระทำความผิดทางอาญา
(ก) ผู้กระทำความผิด
(ก) ผู้กระทำความผิด
หากไม่มีผู้กระทำความผิดย่อมไม่มีการกระทำความผิดและไม่มีภัยต่อสิ่งที่ถูกกระทำ ผลก็คือ ย่อมไม่มีการกระทำผิดทางอาญาเกิดขึ้น ผู้กระทำความผิดได้เป็นทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคลหรือองค์กรที่กฎหมายรองรับ
- บุคคลธรรมดา บุคคลที่จะต้องรับผิดทางอาญาตามกฎหมายอาญาจีน กำหนดไว้ดังนี้
พิจารณาในแง่อายุ
• บุคคลที่มีอายุครบ 16 ปีบริบูรณ์ เมื่อการกระทำความผิดอาญาจะต้องรับผิดทางอาญา
• บุคคลที่อายุครบ 14 ปี แต่ยังไม่ครบ 16 ปีบริบูรณ์ จะต้องรับผิดทางอาญาในการกระทำความผิดอาญาเฉพาะความผิดดังนี้ เจตนาฆ่าคน คือ ความผิดฐานเจตนาทำร้าย ซึ่งผลทำให้ผู้ถูกกระทำถึงแก่ความตายหรือได้รับอันตรายสาหัส ความผิดฐานข่มขืน ความผิดฐานชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์ ความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติด ความผิดฐานวางเพลิง ความผิดฐานก่อวินาศกรรม ความผิดฐานวางยาพิษ
• บุคคลที่อายุยังไม่ครบ 14 ปีบริบูรณ์ ไม่ต้องรับผิดทางอาญา
• บุคคลที่อายุครบ 14 ปี แต่ยังไม่ครบ 16 ปีบริบูรณ์ จะต้องรับผิดทางอาญาในการกระทำความผิดอาญาเฉพาะความผิดดังนี้ เจตนาฆ่าคน คือ ความผิดฐานเจตนาทำร้าย ซึ่งผลทำให้ผู้ถูกกระทำถึงแก่ความตายหรือได้รับอันตรายสาหัส ความผิดฐานข่มขืน ความผิดฐานชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์ ความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติด ความผิดฐานวางเพลิง ความผิดฐานก่อวินาศกรรม ความผิดฐานวางยาพิษ
• บุคคลที่อายุยังไม่ครบ 14 ปีบริบูรณ์ ไม่ต้องรับผิดทางอาญา
พิจารณาในแง่ความสามารถ
• บุคคลผู้ไร้ความสามารถ ซึ่งหมายถึงบุคคลที่สูญเสียจิตสำนึกในการแยกแยะความถูกผิดชั่วดี หรือไม่สามารถควบคุมการกระทำของตนเอง เช่น บุคคลวิกลจริต ไม่ต้องรับผิดทางอาญา แต่ถ้าหากว่า บุคคลที่เป็นโรคจิต หรือโรคประสาท ในขณะที่กระทำความผิดยังมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีจะต้องรับผิดทางอาญา
• บุคคลเสมือนไร้ความสามารถ หมายถึงบุคคลที่รู้สึกผิดชอบชั่วดีแต่ความสามารถในการควบคุมการกระทำของตนเองไม่สมบูรณ์ เช่น คนหูหนวกและเป็นใบ้ คนตาบอด คนโรคจิตหรือโรคประสาทที่ยังสามารถควบคุมการกระทำของตนเองได้ บุคคลเหล่านี้จะต้องรับผิดทางอาญา แต่มีเหตุบรรเทาโทษหรือลดหย่อนผ่อนโทษ
• บุคคลทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ซึ่งรู้จักรับผิดชอบชั่วดี และสามารถควบคุมการกระทำของตนเองได้ จะต้องรับผิดทางอาญาในการกระทำความผิดของตน
• บุคคลเสมือนไร้ความสามารถ หมายถึงบุคคลที่รู้สึกผิดชอบชั่วดีแต่ความสามารถในการควบคุมการกระทำของตนเองไม่สมบูรณ์ เช่น คนหูหนวกและเป็นใบ้ คนตาบอด คนโรคจิตหรือโรคประสาทที่ยังสามารถควบคุมการกระทำของตนเองได้ บุคคลเหล่านี้จะต้องรับผิดทางอาญา แต่มีเหตุบรรเทาโทษหรือลดหย่อนผ่อนโทษ
• บุคคลทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ซึ่งรู้จักรับผิดชอบชั่วดี และสามารถควบคุมการกระทำของตนเองได้ จะต้องรับผิดทางอาญาในการกระทำความผิดของตน
กรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นบุคคลธรรมดานั้น มีความผิดบางประเภทที่ผู้กระทำความผิดจะต้องมีคุณสมบัติพิเศษจึงจะต้องรับผิดในการกระทำของตน เช่น คดีเกี่ยวกับการรับสินบน ผู้ที่กระทำการรับสินบนจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อบุคคลผู้นั้นเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น
- นิติบุคคลหรือองค์กรที่กฎหมายรองรับ
ผู้ที่ต้องรับผิดทางอาญาในการกระทำของตน นอกจากบุคคลธรรมดาดังที่กล่าวแล้ว นิติบุคคลหรือองค์กรที่กฎหมายรองรับก็อาจจะต้องรับผิดทางอาญาในการกระทำของตนได้ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด หน่วยงาน องค์กรต่างๆ การลงโทษทางอาญากรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคลหรือองค์กรที่กฎหมายรองรับนั้นใช้ระบบการลงโทษคู่ กล่าวคือ ลงโทษนิติบุคคลหรือองค์กรนั้นด้วยการปรับเป็นเงิน และลงโทษผู้แทนของนิติบุคคลหรือองค์กรนั้น หรือบุคคลที่ต้องรับผิดโดยตรงร่วมกับนิติบุคคลหรือองค์กรนั้นด้วยโทษจำคุกหรือปรับเป็นเงิน
(ข) องค์ประกอบภายใน (เจตนาของผู้กระทำความผิด)
ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ เจตนา ประมาท วัตถุประสงค์ และสิ่งจูงใจ
- เจตนา เจตนาทางอาญา หมายถึง บุคคลที่รู้ว่าการกระทำของตนจะก่อให้เกิดผลร้ายต่อสังคม และกระทำหรืองดเว้นเพื่อหวังให้ผลนั้นเกิดขึ้น
- ประมาท ประมาททางอาญา หมายถึง บุคคลซึ่งน่าจะคาดหมายได้ว่าการกระทำของตนอาจก่อให้เกิดผลร้ายต่อสังคม แต่มิได้ใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอ หรือเชื่อง่ายๆว่าตนเองสามารถหลีกเลี่ยงได้ จนทำให้เกิดผลร้ายต่อสังคม
- วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ทางอาญา หมายถึง ผลที่ผู้กระทำความผิดทางอาญาคาดหวังไว้ว่าจะให้บรรลุผล
- สิ่งจูงใจ สิ่งจูงใจทางอาญา หมายถึง สาเหตุที่กระตุ้นให้ผู้กระทำ กระทำไปเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ สาเหตุเหล่านี้นอกจากเป็นตัวกระตุ้นแล้ว อาจเป็นตัวส่งเสริมให้เกิดการกระทำความผิดก็ได้
- ประมาท ประมาททางอาญา หมายถึง บุคคลซึ่งน่าจะคาดหมายได้ว่าการกระทำของตนอาจก่อให้เกิดผลร้ายต่อสังคม แต่มิได้ใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอ หรือเชื่อง่ายๆว่าตนเองสามารถหลีกเลี่ยงได้ จนทำให้เกิดผลร้ายต่อสังคม
- วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ทางอาญา หมายถึง ผลที่ผู้กระทำความผิดทางอาญาคาดหวังไว้ว่าจะให้บรรลุผล
- สิ่งจูงใจ สิ่งจูงใจทางอาญา หมายถึง สาเหตุที่กระตุ้นให้ผู้กระทำ กระทำไปเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ สาเหตุเหล่านี้นอกจากเป็นตัวกระตุ้นแล้ว อาจเป็นตัวส่งเสริมให้เกิดการกระทำความผิดก็ได้
(ค) สิ่งที่ถูกกระทำ
หมายถึง ความสัมพันธ์ของสมาชิกในทางสังคมซึ่งกฎหมายได้ให้ความคุ้มครองไว้ ถูกละเมิดโดยการกระทำของผู้กระทำความผิดทางอาญา ความผิดทางอาญาจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อการกระทำนั้นได้ก่อผลร้ายต่อสิ่งที่ถูกกระทำ
(ง) ผลที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่ถูกกระทำ
หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นโดยตรงต่อสิ่งที่ถูกกระทำจากการกระทำของผู้กระทำความผิดทางอาญา
การกระทำที่ต้องรับผิดทางอาญา
(ก) ความผิดฐานเตรียมการ
หมายถึง การได้เริ่มลงมือกระทำการด้วยการตระเตรียมอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือที่จะใช้ในการกระทำผิด หรือการสร้างเงื่อนไขเพื่อเอื้ออำนวยต่อการกระทำความผิด ถือเป็นการแปรความคิดสู่การปฏิบัติและมุ่งที่จะกระทำต่อสิ่งที่ถูกกระทำ หากการเตรียมการนั้นไม่อาจบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ผู้กระทำได้ตั้งใจไว้อันเนื่องมาจากเหตุปัจจัยภายนอกซึ่งมิใช่ความสมัครใจที่จะยุติการกระทำโดยผู้กระทำเอง การเตรียมการนั้นย่อมเป็นความผิดอาญา
ความผิดฐานเตรียมการ จึงต้องประกอบด้วย
- ได้มีการเริ่มลงมือกระทำการด้วยการเตรียมอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ในการกระทำผิด หรือการสร้างเงื่อนไขเพื่อเอื้ออำนวยต่อการกระทำความผิด
- การเตรียมการได้ยุติการกระทำลงในระหว่างดำเนินการซึ่งยังไม่บรรลุผลสำเร็จ
- การยุติการกระทำมีสาเหตุเนื่องมาจากปัจจัยภายนอกซึ่งมิได้เกิดจากความตั้งใจหรือสมัครใจของผู้กระทำเอง
- การเตรียมการได้ยุติการกระทำลงในระหว่างดำเนินการซึ่งยังไม่บรรลุผลสำเร็จ
- การยุติการกระทำมีสาเหตุเนื่องมาจากปัจจัยภายนอกซึ่งมิได้เกิดจากความตั้งใจหรือสมัครใจของผู้กระทำเอง
ความผิดฐานเตรียมการ ถือว่าเป็นขั้นตอนขั้นแรกของการกระทำความผิดที่มีผลร้ายต่อสังคม แต่เป็นความผิดเพียงน้อยนิด กฎหมายอาญาถือว่าความผิดฐานเตรียมการต้องรับโทษ แต่เป็นโทษสถานเบา หรือเป็นเหตุบรรเทาโทษ หรือยกเว้นโทษได้
(ข) ความผิดฐานยุติการกระทำความผิด
หมายถึง ผู้กระทำได้ลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่ยุติการกระทำของตนเอง หรือป้องกันไม่ให้การกระทำนั้นเกิดผลร้ายต่อสังคมด้วยความสมัครใจของผู้กระทำเอง การยุติการกระทำความผิดอาจเกิดขึ้นได้ในขั้นตอนของการเตรียมการหรือในระหว่างขั้นตอนการกระทำความผิด หรือภายหลังจากได้กระทำตามความตั้งใจไปแล้วก่อนที่เหตุร้ายจะเกิดขึ้น
กฎหมายอาญาจีน บัญญัติไว้ว่า ความผิดฐานยุติการกระทำความผิดนั้น หากมิได้ก่อผลร้ายต่อสิ่งที่ถูกกระทำ ย่อมได้รับยกเว้นโทษ แต่ถ้าหากพฤติกรรมนั้นได้เกิดผลร้ายต่อสิ่งที่ถูกกระทำแล้วต้องรับโทษทางอาญาแต่เป็นเหตุให้ได้รับลดหย่อนผ่อนโทษได้
กฎหมายอาญาจีน บัญญัติไว้ว่า ความผิดฐานยุติการกระทำความผิดนั้น หากมิได้ก่อผลร้ายต่อสิ่งที่ถูกกระทำ ย่อมได้รับยกเว้นโทษ แต่ถ้าหากพฤติกรรมนั้นได้เกิดผลร้ายต่อสิ่งที่ถูกกระทำแล้วต้องรับโทษทางอาญาแต่เป็นเหตุให้ได้รับลดหย่อนผ่อนโทษได้
(ค) ความผิดฐานพยายาม
หมายถึง ผู้กระทำได้ลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่สำเร็จบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้อันเนื่องมาจากมีเหตุปัจจัยภายนอกซึ่งมิได้เกิดจากความสมัครใจของผู้กระทำเองขัดขวางไว้
กฎหมายอาญาจีน บัญญัติไว้ว่า ความผิดฐานพยายามกระทำความผิดนั้น ถือเป็นขั้นตอนที่ได้ลงมือกระทำต่อจากขั้นเตรียมการแล้ว ดังนั้นจึงต้องรับโทษตามกฎหมายแต่มีโทษเบากว่าการกระทำความผิดสำเร็จและเป็นเหตุลดหย่อนผ่อนโทษได้
กฎหมายอาญาจีน บัญญัติไว้ว่า ความผิดฐานพยายามกระทำความผิดนั้น ถือเป็นขั้นตอนที่ได้ลงมือกระทำต่อจากขั้นเตรียมการแล้ว ดังนั้นจึงต้องรับโทษตามกฎหมายแต่มีโทษเบากว่าการกระทำความผิดสำเร็จและเป็นเหตุลดหย่อนผ่อนโทษได้
(ง) ความผิดสำเร็จ
หมายถึง การกระทำใดๆ ที่ครบองค์ประกอบทั้งภายในและองค์ประกอบภายนอกที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งมี 3 ลักษณะ คือ
- การกระทำความผิดสำเร็จเมื่อมีการกระทำ หมายถึง ผู้กระทำเพียงแต่ได้กระทำในสิ่งที่กฎหมายห้ามไว้ก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว ความผิดชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องมีผลร้ายเกิดขึ้นสมความตั้งใจของผู้กระทำ เช่น ความผิดฐานเรียกค่าไถ่ ความผิดฐานแจ้งความเท็จ ฯลฯ
- การกระทำความผิดสำเร็จและการกระทำเกิดผลร้ายกับสิ่งที่ถูกกระทำ ความผิดชนิดนี้ ผู้กระทำนอกจากจะต้องได้มีการกระทำตามที่กฎหมายบัญญัติห้ามไว้แล้ว ยังจะต้องมีผลร้ายเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการกระทำของตนด้วย จึงจะถือว่าเป็นความผิดสำเร็จ เช่น ความผิดฐานฆ่าคน ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ฯลฯ
- การกระทำความผิดที่อาจก่อให้เกิดอันตราย หมายถึง ผู้กระทำได้กระทำการบางสิ่งบางอย่างที่กฎหมายห้ามไว้จนเพียงพอที่จะก่อให้เกิดผลร้ายในภายหลังได้ แม้ผลร้ายนั้นจะยังไม่เกิดขึ้นก็ตาม ก็ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จแล้ว เช่น ความผิดฐานทำลายเครื่องหมายจราจร ความผิดฐานทำลายอุปกรณ์หรือเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ในการจราจร ฯลฯ
- การกระทำความผิดสำเร็จและการกระทำเกิดผลร้ายกับสิ่งที่ถูกกระทำ ความผิดชนิดนี้ ผู้กระทำนอกจากจะต้องได้มีการกระทำตามที่กฎหมายบัญญัติห้ามไว้แล้ว ยังจะต้องมีผลร้ายเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการกระทำของตนด้วย จึงจะถือว่าเป็นความผิดสำเร็จ เช่น ความผิดฐานฆ่าคน ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ฯลฯ
- การกระทำความผิดที่อาจก่อให้เกิดอันตราย หมายถึง ผู้กระทำได้กระทำการบางสิ่งบางอย่างที่กฎหมายห้ามไว้จนเพียงพอที่จะก่อให้เกิดผลร้ายในภายหลังได้ แม้ผลร้ายนั้นจะยังไม่เกิดขึ้นก็ตาม ก็ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จแล้ว เช่น ความผิดฐานทำลายเครื่องหมายจราจร ความผิดฐานทำลายอุปกรณ์หรือเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ในการจราจร ฯลฯ
ฐานความผิดตามกฎหมายอาญา
กฎหมายอาญาจีนได้แบ่งฐานความผิดไว้ 10 หมวด คือ
(ก) ความผิดเกี่ยวกับการทำลายความมั่นคงของประเทศ
(ข) ความผิดเกี่ยวกับการทำลายความสงบสุขของสาธารณะ
(ค) ความผิดเกี่ยวกับการทำลายความเป็นระเบียบของระบบเศรษฐกิจการตลาดของสังคมนิยม
(ง) ความผิดเกี่ยวกับการละเมิดชีวิต ร่างกาย และสิทธิตามระบอบประชาธิปไตยของประชาชน
(จ) ความผิดเกี่ยวกับการละเมิดทรัพย์สิน
(ฉ) ความผิดเกี่ยวกับการทำร้ายความเป็นระเบียบของการควบคุมสังคม
(ช) ความผิดเกี่ยวกับการให้หรือรับสินบน
(ซ) ความผิดเกี่ยวกับการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ
(ฌ) ความผิดเกี่ยวกับการฝ่าฝืนวินัยของทหาร
(ข) ความผิดเกี่ยวกับการทำลายความสงบสุขของสาธารณะ
(ค) ความผิดเกี่ยวกับการทำลายความเป็นระเบียบของระบบเศรษฐกิจการตลาดของสังคมนิยม
(ง) ความผิดเกี่ยวกับการละเมิดชีวิต ร่างกาย และสิทธิตามระบอบประชาธิปไตยของประชาชน
(จ) ความผิดเกี่ยวกับการละเมิดทรัพย์สิน
(ฉ) ความผิดเกี่ยวกับการทำร้ายความเป็นระเบียบของการควบคุมสังคม
(ช) ความผิดเกี่ยวกับการให้หรือรับสินบน
(ซ) ความผิดเกี่ยวกับการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ
(ฌ) ความผิดเกี่ยวกับการฝ่าฝืนวินัยของทหาร
โทษตามกฎหมายอาญาจีน แบ่งเป็น โทษหลัก และโทษเสริม
(ก) โทษหลัก ได้แก่
- โทษกักบริเวณ
- โทษบังคับให้ใช้แรงงานหรือทำประโยชน์สาธารณะเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- โทษจำคุกมีกำหนดระยะเวลา
- โทษจำคุกตลอดชีวิต
- โทษประหารชีวิต
- โทษกักบริเวณ
- โทษบังคับให้ใช้แรงงานหรือทำประโยชน์สาธารณะเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- โทษจำคุกมีกำหนดระยะเวลา
- โทษจำคุกตลอดชีวิต
- โทษประหารชีวิต
(ข) โทษเสริม ได้แก่
- โทษปรับ
- โทษตัดสิทธิ์ทางการเมือง
- โทษริบทรัพย์
- โทษเนรเทศ
- โทษตัดสิทธิ์ทางการเมือง
- โทษริบทรัพย์
- โทษเนรเทศ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)